Catégories : Tous

par Raweesak Nirapai Il y a 4 années

2385

อาหารประจำภาค

อาหารประจำภาคในประเทศไทยมีความหลากหลายและสะท้อนถึงวัฒนธรรมและสภาพภูมิอากาศของแต่ละภูมิภาค อาหารภาคเหนือมีข้าวเหนียวเป็นหลัก พร้อมด้วยน้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง และแกงฮังเล ซึ่งมีไขมันสูงเพื่อต้านความหนาวเย็น ภาคอีสานมีข้าวเหนียวนึ่ง, ปลาร้า, และอาหารจากสัตว์ท้องถิ่น เช่น แมลงและกบ มีรสชาติเค็ม เผ็ด และเปรี้ยว ภาคกลางอาหารมีความหลากหลายและมีการผสมผสานวัฒนธรรมจากต่างชาติ เช่น อาหารจีนและอินเดีย รวมถึงอาหารราชสำนัก อาหารใต้มีลักษณะผสมผสานระหว่างไทยพื้นบ้านกับอินเดียใต้ มีการใช้น้ำบูดูที่มาจากการหมักปลาทะเลและมีรสชาติคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารของแต่ละภูมิภาคแสดงถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่มีความเฉพาะตัว

อาหารประจำภาค

อาหารประจำภาค

Use this mind map structure to discover unseen connections, generate new ideas and reach a better understanding of any given subject.

อาหารพื้นบ้านภาคอีสาน

ชาวอีสานจะมีข้าวเหนียวนึ่งเป็นอาหารหลักเช่นเดียวกับภาคเหนือ เนื้อสัตว์ที่นำมาปรุงอาหาร ได้แก่ สัตว์ที่หามาได้ เช่น กบ เขียด แย้ แมลงต่าง ๆ ที่มาของรสชาติอาหารอีสาน เช่น รสเค็มได้จากปลาร้า รสเผ็ดได้จากพริกสดและพริกแห้ง รสเปรี้ยวได้จากมะกอก ส้มมะขาม และมดแดง ในอดีตคนอีสานนิยมหมักปลาร้าไว้กินเองเพราะมีปลาอุดมสมบูรณ์ ประกอบกับเป็นแหล่งเกลือสินเธาว์ ทำให้การทำปลาร้าเป็นที่แพร่หลายมาก จากปลาร้าพื้นบ้านอีสานได้มีการพัฒนาทั้งวิธีการทำและรสชาติ จนกลายเป็นตำรับปลาร้าที่ส่งขายต่างประเทศในปัจจุบันอาหารพื้นบ้านอีสานที่มีชื่อเสียง อาหารประจำภาคอิสาน เช่น
แจ่วบอง
ส้มตำ

อาหารพื้นบ้านภาคกลาง

อาหารภาคกลาง มีความหลากหลายทั้งในการปรุง รสชาติและการตกแต่งให้น่ารับประทานสืบเนื่องจากการรับและปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมจากภายนอก เช่น จีน อินเดีย ชาว ตะวันตกอีกทั้งอาหารภาคบางส่วนได้รับอิทธิพลมาจากอาหารของราชสำนักอีกด้วย สำรับอาหารภาคกลางมักมีน้ำพริกและผักจิ้ม โดยรับประทานข้าวสวยเป็นหลักลักษณะอาหารที่รับประทานมักผสมผสานระหว่างภาคต่าง ๆ เช่น แกงไตปลา ปลาร้า น้ำพริกอ่อง อาหารภาคกลาง เช่น
ต้มข่าไก่
ผัดกะเพราหมู

อาหารพื้นเมืองภาคเหนือ

อาหารของภาคเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก มีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง มีแกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยัง มีแหนม ไส้อั่ว แคบหมู และผักต่าง ๆ สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่น นั่นคือ การที่อากาศหนาวเย็นเป็นเหตุผลให้อาหาร ส่วนใหญ่มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล ไส้อั่ว เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น อีกทั้งการที่อาศัยอยู่ในหุบเขาและบนที่สูงอยู่ใกล้กับป่า จึงนิยมนำพืชพันธุ์ในป่า มาปรุงเป็นอาหาร เช่น
ขนมจีนน้ำเงี้ยว
แกงโฮะ

อาหารพื้นบ้านภาคใต้

อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้ เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความ คล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย อาหารของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้าน มีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้ม จึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย อาหารประจำภาคใต้ เช่น
ข้าวยำ
น้ำพริกโจร
น้ำพริกกุ้งเสียบ