Categories: All - เอกสาร - วัตถุประสงค์ - สมมติฐาน - ประโยชน์

by Nattakul Khunpet 6 years ago

1360

การเขียนโครงร่างงานวิจัย

การดำเนินการวิจัยมีขั้นตอนที่สำคัญหลายประการ เริ่มต้นจากการกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนและเฉพาะเจาะจงเพื่อให้การวิจัยมีทิศทางที่ถูกต้อง การกำหนดสมมติฐานคือการคาดคะเนคำตอบอย่างมีเหตุผล โดยมักแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม การวางแผนงบประมาณเป็นอีกส่วนที่สำคัญซึ่งรวมถึงเงินเดือนบุคลากร ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนามและสำนักงาน รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัยสามารถแบ่งเป็นด้านวิชาการและด้านประยุกต์ เช่น การค้นพบทฤษฎีใหม่ การนำผลวิจัยไปใช้วางแผนและกำหนดนโยบายต่าง ๆ ซึ่งครอบคลุมทั้งผลในระยะสั้นและระยะยาว การเลือกใช้ระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสม เช่น การวิจัยเอกสาร การวิจัยแบบทดลอง หรือการวิจัยเชิงคุณภาพ ต้องระบุให้ชัดเจนถึงแหล่งข้อมูลที่จะใช้ สุดท้ายนี้การจัดทำเอกสารอ้างอิงเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนความน่าเชื่อถือของงานวิจัย โดยต้องมีการระบุรายชื่อหนังสือและสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

การเขียนโครงร่างงานวิจัย

การเขียนโครงร่างงานวิจัย

6.สมมติฐาน

การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มักเขียนในลักษณะ การแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น และตัวแปรตาม

5. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การทบทวนวรรณกรรม เป็นการเขียนถึงสิ่งที่ผู้วิจัยได้มาจากการศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ทั้งทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ ทฤษฎี หลักการ ข้อเท็จจริงต่างๆ แนวความคิดของผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผลงานวิจัยต่างๆ

4. คำถามของการวิจัย

ผู้วิจัยต้องกำหนดปัญหาขึ้น และให้นิยามปัญหานั้นอย่างชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจน จะช่วยให้ผู้วิจัย กำหนดวัตถุประสงค์ตั้งสมมติฐาน ให้นิยามตัวแปรที่สสำคัญ ๆ ตลอดจน การวัดตัวแปรเหล่านั้นได้

3.วัตถุประสงค์ของการวิจัย

เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ

2. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

หรือหลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่า และประโยชน์ ที่จะได้จาก ผลการวิจัยในเรื่องนี้

การวิจัย คือ

กระบวนการค้นหาความรู้ ข้อเท็จจริง อย่างมีระเบียบ มีกฎเกณฑ์ในการ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และแปลความข้อมูล

การเขียนโครงร่างการวิจัย

ทำให้ผู้วิจัยทราบขั้นตอนและรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนของการทำวิจัย

โครงร่างการวิจัย

1. ชื่อเรื่อง 2. ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย 3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 4. ค าถามของการวิจัย 5. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 6. สมมติฐาน* และกรอบแนวความคิดในการวิจัย 7. ขอบเขตของการวิจัย 8. การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย 9. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย 10. ระเบียบวิธีวิจัย 11. ระยะเวลาในการดำเนินงาน 12. งบประมาณค่าใช้จ่ายในการวิจัย 13. บรรณานุกรม 14. ภาคผนวก 15. ประวัติของผู้ดำเนินการวิจัย

1. ชื่อเรื่อง

ระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือ ต้องการผลอะไร
ชื่อเรื่องควรมีความหมายสั้น กะทัดรัดและชัดเจน

7. ขอบเขตของการวิจัย

เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุมของปัญหานั้น จึงต้องกำหนดขอบเขตของการศึกษาให้แน่นอน ว่าจะครอบคลุมอะไรบ้าง

9.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

อธิบายถึงประโยชน์ที่จะนำไปใช้ได้จริงในด้านวิชาการ เช่น จะเป็นการค้นพบทฤษฎีใหม่ซึ่งสนับสนุนหรือ คัดค้านทฤษฎีเดิม และประโยชน์ในเชิงประยุกต์ เช่น นำไปวางแผนและกำหนดนโยบายต่างๆ หรือประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้นเป็นต้นโดยครอบคลุมทั้งผลในระยะสั้นและระยะยาว

15. ประวัติของผู้ดำเนินการวิจัย

ประวัติของผู้วิจัย เป็นข้อมูลที่ผู้ให้ทุนวิจัยมักจะใช้ประกอบการพิจารณาให้ทุนวิจัยซึ่งถ้ามีผู้วิจัยหลายคนก็ต้องมีประวัติของผู้วิจัยที่อยู่ในตำแหน่งสำคัญๆ ทุกคนซึ่งต้องระบุว่า ใครเป็นหัวหน้าโครงการ ใครเป็นผู้ร่วมโครงการในตำแหน่งใด และใครเป็นที่ปรึกษาโครงการ

13.เอกสารอ้างอิง

ตอนสุดท้ายของโครงร่างการวิจัย จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเอกสารวิจัยเรื่องนั้น ๆ

14. ภาคผนวก

สิ่งที่นิยมเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บหรือบันทึก ข้อมูล

12. งบประมาณ

12.1 เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร 12.2 ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม 12.3 ค่าใช้จ่ายสำนักงาน 12.4 ค่าครุภัณฑ์ 12.5 ค่าประมวลผลข้อมูล 12.6 ค่าพิมพ์รายงาน

10. ระเบียบวิธวิจัย

10.1 วิธีวิจัย จะเลือกใช้วิธีวิจัยแบบใด เช่น จะใช้การวิจัยเอกสาร การวิจัยแบบทดลองการวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือจะใช้หลายๆ วิธีรวมกัน ซึ่งก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะใช้วิธีอะไรบ้าง 10.2 แหล่งข้อมูล จะเก็บข้อมูลจากแหล่งใดบ้าง เช่น จะเก็บข้อมูลทุติยภูมิ จากทะเบียนราษฎร์ สมุดสถิติรายปี สำมะโนประชากรและเคหะ ฯลฯ หรือจะเป็นข้อมูลปฐมภูมิจากการสำรวจ การสนทนากลุ่ม การสังเกต การสัมภาษณ์ระดับลึก ฯลฯ เป็นต้น

11. ระยะเวลาในการดำเนินงาน

วิจัยต้องระบุถึงระยะเวลาที่จะใช้ในการดำเนินงานวิจัยทั้งหมดว่าจะใช้เวลานานเท่าใดและต้องระบุระยะเวลาที่ใช้สำหรับแต่ละขั้นตอนของการวิจัย

8. การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย

ในการวิจัยอาจมีตัวแปรหรือคำ ) ศัพท์เฉพาะต่าง ๆที่จำเป็นต้องให้คำจำกัดความอย่างชัดเจน ในรูปที่สามารถสังเกต หรือวัดได้