Categories: All - มหาวิทยาลัย - การจัดการ

by Woranuch Utsaha 4 years ago

439

ความพึงพอใจต่อการจัดการกับสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

การจัดการกับสุนัขจรจัดในมหาวิทยาลัยเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายให้ความสำคัญ โดยมีการนำเสนอวิธีการและเครื่องมือในการเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์เพื่อรวบรวมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง การวิจัยนี้แบ่งคำถามออกเป็นสามส่วนหลัก ส่วนแรกเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม เช่น เพศ อายุ และศาสนา ส่วนที่สองเกี่ยวกับการจัดการสุนัขจรจัด เช่น การจัดสรรงบประมาณ การดูแลความสะอาด การให้อาหาร การจัดสรรที่อยู่ การรักษายามเจ็บป่วย และการทำหมัน ส่วนที่สามเป็นคำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการสุนัขจรจัด ผลการวิจัยจะประเมินระดับความพึงพอใจต่อการจัดการในหลายๆ ด้าน และนำไปใช้ในการปรับปรุงมาตรการต่างๆ เพื่อให้การจัดการสุนัขจรจัดในมหาวิทยาลัยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ความพึงพอใจต่อการจัดการกับสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ความพึงพอใจต่อการจัดการกับสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

สมมติฐานการวิจัย

2.ปัญหาสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีสาเหตุมาจากการไม่คุมกำเนิดของสุนัข
1.ปัญหาสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีสาเหตุมาจากการดูแลที่ไม่ทั่วถึง

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
วิรงรอง หุ้นสุวรรณ และคณะ (2548) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง Rabies Control in Thailand โดยใช้วิธีการศึกษา คือ การกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ผลการวิจัยพบว่ามาตรการลดจำนวนสุนัขที่ไม่มีเจ้าของหรือสุนัขจรจัดเป็นวิธีหนึ่งที่จะลดการแพร่ระบาดของโรคได้เพราะสุนัขเหล่านี้ไม่สามารถจับมาฉีดวัคซีนได้ทุกปี และเป็นการตัดวงจรการติดต่อของโรคได้ เนื่องจากผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ ถูกสุนัขไม่มีเจ้าของกัดแต่การกำจัดสุนัขเหล่านี้ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน เนื่องจากขัดต่อหลักศาสนา จึงต้องหาวิธีที่ลดจำนวนสุนัขจรจัดลง เช่น การจับมาฉีดวัคซีน การทำหมัน และการนำไปไว้ในสถานสงเคราะห์สัตว์
สมปอง เจริญสุข (2556) อธิบายไว้ว่า สุนัขจรจัด หมายถึง สุนัขไม่มีสังกัด ไม่ได้ถูกควบคุมดูแล ในพื้นที่ที่กำหนด และไม่มีเจ้าของ ไม่มีผู้เอาใจใส่ดูแล ส่วนสุนัขที่ไม่มีที่พักอาศัยในบ้านคน หรือในอาคารสถานที่แต่มีคนเลี้ยงมีคนให้อาหาร หรือบางครั้งมีการนำไปตรวจ ดูแลสุขภาพหรือทำหมันให้ ไม่ได้เรียกสุนัขจรจัด แต่ให้เรียกเป็นเป็นสุนัขชุมชน
เบจมาศ สุนนทะนาม และหัชชากร วงศ์สายัณห์ (2561) ศึกษาถึงสภาพปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสุนัขจรจัดในกรุงเทพมหานคร เพื่อเปรียบเทียบนโยบายสาธารณะในท้องถิ่น เกี่ยวกับการแก้ปัญหาสุนัขจรจัดระหว่างกรุงเทพมหานคร กับเมืองชิคาโก เพื่อศึกษาหาวิธีการแก้ปัญหาสุนัขจรจัดในกรุงเทพมหานครโดยมีต้นแบบมาจากเมืองชิคาโก
ศรันยู ภักดีวงษ์ (2560) ศึกษาแนวทางการจัดการสุนัขที่ถูกทอดทิ้งในที่สาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี โดยร่วมกันดําเนินการแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัดอย่างไร รวมถึงวิเคราะห์แนวทางในการจัดการปัญหาสุนัขจรจัด เพื่อเสนอเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ พบว่า วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ (2547,33) อธิบายไว้ว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ทัศนคติในทางบวกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นความพอใจในการปฏิบัติต่อสิ่งนั้น
แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวกับพฤติกรรม พบว่า เฉลิมพล ตันสกุล (2542) อ้างถึงใน วนิดา เวียงพิทักษ์ (2544) อธิบายไว้ว่า พฤติกรรม หมายถึง กิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นการกระทําที่บุคคลนั้นแสดงออกมา รวมทั้งกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคลและกิจกรรมนี้อาจสังเกตได้ด้วยประสาทสัมผัสหรือไม่สามารถสังเกตได้ประกอบด้วยพฤติกรรมภายในและภายนอกตัวบุคคล

คำถามการวิจัย

2. ควรเพิ่มแนวทาง มาตรการ หรือโครงการในการดูแลสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์หรือไม่
1. การจัดการกับสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีการจัดการที่ดีพอแล้วหรือยัง

วัตถุประสงค์

2. เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขและจัดการกับสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
1. เพื่อให้ทราบความพึงพอใจต่อการจัดการกับสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

สุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีความน่ารัก ซื่อสัตย์ แสนรู้ และมีความผูกพันกับคนไทยมาอย่างยาวนาน ในช่วงแรก ๆ นั้น จะเป็นการเลี้ยงสุนัขเพื่อเฝ้าบ้าน แต่ในปัจจุบันนี้การเลี้ยงสุนัขจะมีจุดประสงค์ที่เปลี่ยนไป เนื่องจากความน่ารัก และความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละสายพันธ์ จึงนิยมเลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความสวยงาม เป็นเพื่อนยามเหงา สุนัขเมื่อแรกเกิดจะตัวเล็ก ซุกซน น่ารัก ขี้อ้อน แต่เมื่อโตขึ้นความน่ารัก ขี้เล่น ขี้อ้อน จะค่อย ๆ หายไป จนอาจทำให้เจ้าของไม่รู้สึกรักและเอ็นดูอย่างแต่ก่อน และสุนัขเมื่อโตขึ้นจะมีโอกาส โรคต่าง ๆ เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นจำนวนเงินที่มากจนเจ้าของไม่สามารถที่จะจ่ายไหว หรือบางครั้งเจ้าของไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่ที่มากพอ ด้วยเหตุผลเหล่านี้ จึงลงเอยด้วยการนำสุนัขไปปล่อยทิ้งข้างทาง วัด หรือสถานศึกษา จากสุนัขที่เคยเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านสวยงามกลายเป็นสุนัขจรจัด

ระเบียบวิธีวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม Google Form โดยแบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 3 เป็นข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นคำถามลักษณะปลายเปิด ดังนี้ ข้อเสนอแนะในการเพิ่มเติม ปรับปรุง แก้ไขต่อการจัดการดูแลสุนัขจรจัดของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ตอนที่ 2 เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการสุนัขจรจัดของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้แก่ การจัดสรรงบประมาณในการจัดการดูแลสุนัขจดจัด การดูแลความสะอาด การให้อาหาร การจัดสรรที่อยู่ของสุนัข การดูแลรักษายามเจ็บป่วย การทำหมัน การจัดการกับมูลสุนัข การคุ้ยถังขยะ การสร้างความเดือนร้อน และการจัดการกับซากสุนัขจรจัด ลักษณะของคำถามเป็นแบบประมาณค่า 5 ตามหลักสากล ซึ่งระดับความคิดเห็นของแต่ละคำถามมีดังนี้

เกณฑ์การแปลความหมาย คะแนน 4.51 – 5.00 หมายถึง พึงพอใจต่อการจัดการกับสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในระดับมากที่สุด คะแนน 3.51 – 4.50 หมายถึง พึงพอใจต่อการจัดการกับสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในระดับมาก คะแนน 2.51 – 3.50 หมายถึง พึงพอใจต่อการจัดการกับสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในระดับปานกลาง คะแนน 1.51 – 2.50 หมายถึง พึงพอใจต่อการจัดการกับสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในระดับน้อย คะแนน 0.51 – 1.50 หมายถึง พึงพอใจต่อการจัดการกับสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในระดับน้อยที่สุด

เกณฑ์การให้คะแนน ระดับความคิดเห็น มากที่สุด 5 คะแนน ระดับความคิดเห็น มาก 4 คะแนน ระดับความคิดเห็น ปานกลาง 3 คะแนน ระดับความคิดเห็น น้อย 2 คะแนน ระดับความคิดเห็น น้อยที่สุด 1 คะแนน

ตอนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ ศาสนา

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สำนักวิชาการจัดการ หลักสูตรอุตสาหกรรมการบริการ (การโรงแรมและการท่องเที่ยว) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 40 คน เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม
รูปแบบ/ประเภทของงานวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

2. ทราบเกี่ยวกับการจัดการภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
1. ทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับสุนัขจรจัดในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

นิยามศัพท์

5. การจัดการ หมายถึง การให้กลุ่มบุคคลในองค์กรเข้ามาทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์กร ซึ่งประกอบด้วยการวางแผน การจัดการองค์กร การสรรบุคลากร การนำหรือสั่งการและการควบคุมองค์กรหรือความพยายามที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน
4. พฤติกรรม หมายถึง การกระทำ หรือกิริยาอาการที่แสดงออกทางร่างกาย ความคิด หรือความรู้สึกเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า
3. ความรู้ หมายถึง พฤติกรรมและสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเน้นการจำ ไม่ว่าจะเป็นการระลึกถึงหรือระลึกได้ก็ตาม เป็นสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากการเรียนรู้ โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมสาระต่าง ๆ จนกระทั่งพัฒนาไปสู่ขั้นที่มีความ สลับซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยความรู้นี้อาจแยกออกเป็นความรู้เฉพาะสิ่งและความรู้เรื่องสากล เป็นต้น
2. สุนัขจรจัด หมายถึง สุนัขไม่มีเจ้าของ ดูแลรับผิดชอบมีความอิสระในการดำรงชีวิตทั้งการหาอาหารที่อยู่อาศัยและการผสมพันธุ์
1. ความพึงพอใจ หมายถึง ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการให้บริการในด้านกายภาพ ด้านสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก จนกระทั่งก่อให้เกิดความชื่นชอบ ความรู้สึกยอมรับ พอใจ และประทับใจแก่ผู้มารับบริการในระดับมากที่สุด ระดับมาก ระดับปานกลาง ระดับน้อย และระดับน้อยที่สุด

ขอบเขตการวิจัย

ขอบเขตด้านระยะเวลา
ดำเนินการเก็บแบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่างของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สำนักวิชาการจัดการ หลักสูตรอุตสาหกรรมการบริการ (การท่องเที่ยว โรงแรม) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในภาคการศึกษาที่ 3 ปีการศึกษา 2563
ขอบเขตด้านประชากร
นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สำนักวิชาการจัดการ หลักสูตรอุตสาหกรรมการบริการ (การท่องเที่ยว โรงแรม) โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 40 คน
ขอบเขตด้านเนื้อหา
ตัวแปรตาม คือ ความพึงพอใจของนักศึกษา
1. ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ คือ การจัดการและดูแลสุนัขจรจัดภายในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์