Categories: All - โรค

by วาสนา โตะโกะ 3 years ago

250

ใบความรู้หน่วยที่ 10 โรคเกิดจากการปฏิบัติงาน

ปัญหาสุขภาพที่มาจากการทำงานมีหลายประเภท เช่น โรคซิลิโคสิส ซึ่งเกิดจากการสัมผัสฝุ่นซิลิกาโดยตรงจากการทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างและแกะสลัก หากสูดดมฝุ่นนี้เข้าไปจะสะสมในปอดและก่อให้เกิดพังผืดที่เนื้อปอด ทำให้ปอดทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ การป้องกันทำได้โดยการใช้หน้ากากและฉีดน้ำลดฝุ่น นอกจากนี้ยังมีโรคเครียดลงกระเพาะที่เกิดจากความเครียดที่ทำให้ระบบประสาทกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยมากเกินไป ทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร โรคอ้วนก็เป็นอีกปัญหาที่พบมากในคนวัยทำงานจากการรับประทานอาหารไม่เป็นระเบียบและขาดการออกกำลังกาย โรคนี้ยังเป็นสาเหตุของโรคอื่นๆ เช่น โรคเบาหวานและโรคหัวใจ โรคหัวใจเกิดจากการทำงานหนักและการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การพักผ่อนไม่เพียงพอ และการขาดการออกกำลังกายก็เป็นปัจจัยเสี่ยงเช่นกัน

ใบความรู้หน่วยที่ 10  โรคเกิดจากการปฏิบัติงาน

ใบความรู้หน่วยที่ 10 โรคเกิดจากการปฏิบัติงาน

9. โรคอ้วน

ล่าสุดพบว่าคนวัยทำงานเป็นโรคนี้กันมากขึ้นโดยเฉพาะพวกที่ชอบทำงานไปด้วยรับประทานไปด้วย ไม่มีเวลาออกกำลังกาย ซึ่งผู้หญิงอ้วนได้ง่ายกว่าผู้ชาย และโรคอ้วนยังเป็นบ่อเกิดของโรคสำคัญๆ มากมาย เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น สำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วนควรดูแลใส่ใจเรื่องอาหารการกินเป็นพิเศษ ควรปรึกษานักโภชนาการ และหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

8. ไมเกรน ปวดศีรษะเรื้อรัง

เวลานั่งทำงานนานๆ จะรู้สึกปวดหัวบริเวณขมับด้านหน้าศีรษะ หรือหลังต้นคอ นั่นคือสัญญาณเตือนให้คุณรู้ถึงภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคไม่เกรน การพักผ่อนไม่เพียงพอ แสงแดด ความร้อน และการขาดฮอร์โมนบางชนิด ก็เป็นปัจจัยก่อให้เกิดโรคนี้เช่นกัน

7. โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อีกหนึ่งโรคยอดฮิตของคนวัยทำงาน สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้คนเกิดโรคนี้ คือ เมื่อปวดปัสสาวะ แล้วไม่ยอมลุกไปเข้าห้องน้ำ ดื่มน้ำน้อย หรือเลือกดื่มกาแฟแทนน้ำเปล่าซึ่งพฤติกรรมที่ทำจนเกิดเป็นนิสัยแบบนี้ส่งผลให้เกิดโรคร้ายได

6. โรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อนเป็นโรคที่คนทำงานหลายคนมักมองข้ามไป

แต่ความจริงแล้วโรคดังกล่าวเป็นภัยเงียบที่หนุ่มสาววัยทำงานควรระวังไว้ เนื่องด้วยชีวิตที่เร่งรีบของคนทำงานอาจมีตัวเลือกสำหรับอาหารไม่มากนัก ทำให้คนส่วนใหญ่ต้องบริโภคอาหารรสจัด ของมัน ของทอด

หรือน้ำอัดลมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือบางคนที่ทำงานดึกดื่นจนไม่มีเวลากินข้าว ต้องมากินข้าวก่อนนอนเมื่อกินเสร็จก็นอนทันที นับได้ว่าพฤติกรรมเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่ส่อให้เกิดโรคกรดไหลย้อน

5. โรคหัวใจ

โรคหัวใจ มักเกิดขึ้นกับคนวัยทำงาน เพราะคนวัยทำงานมีการดำเนินชีวิตที่ต้องทำงานหนัก พักผ่อนน้อยประกอบกับการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงและรสชาติจัด อีกทั้งไม่มีเวลาออกกำลังกาย

ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจได้อย่างง่ายดาย

4. ออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคที่เกิดขึ้นโดยตรงกับพนักงานออฟฟิศ

ด้วยพฤติกรรมส่วนใหญ่ของคนทำงานที่ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์อยู่เป็นเวลานานโดยไม่ได้ขยับตัวจนทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการตึง ก่อให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบได้ จากสถิติของกรมอนามัย

กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า “คนวัยทำงานรอยละ 60 มีภาวะโรคออฟฟิศซินโดรม”

3. โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง จากการที่พนักงานออฟฟิศส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับความกดดันอยู่บ่อยครั้งโรคนี้ยังเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวายอีกด้วย

จากการรายงานขององค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าในปี พ.ศ. 2568 จะมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นเป็น 1.56 พันล้านคน

2. โรคเครียดลงกระเพาะ

โรคเครียดลงกระเพาะ ส่วนมากเกิดจากความเครียด เพราะในขณะที่เราเครียดระบบประสาทอัตโนมัติจะกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติ จนเกิดการระคายเคืองส่งผลให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร

1. โรคปลอกประสาทอักเสบ

จากข้อมูลทางสถิติ โรคปลอกประสาทอักเสบเป็นโรคใกล้ตัวหญิงวัยทำงาน โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 20 – 40 ปี หากเป็นมากจะสูญเสียการเคลื่อนไหวของร่างกายจนอาจเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

ความหมาย

โรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งมีสาเหตุโดยตรงจากการทำงานที่สัมผัสกับสิ่งคุกคามหรือสภาวะแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสมโดยอาการเจ็บป่วยอาจเกิดขึ้นขณะปฏิบัติงาน หลังเลิกงาน หรือภายหลังที่ออกจากงานไปแล้ว

10. ปวดหลังเรื้อรัง

ในชีวิตประจำวันของการทำงานเรามักจำเป็นต้องใช้ชีวิตอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน และ การใส่รองเท้าส้นสูงบ่อยๆ ก็เป็นสาเหตุสำคัญของอาการปวดคอ บ่าไหล่ หลัง แขน ขา และสะโพก อันเนื่องมาจากโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง ควรพบแพทย์ผู้เชียวชาญเพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง

11. มือชา เอ็นอักเสบ

 นิ้วล็อก ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันมากขึ้น อาการของการอักเสบ ของปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ เส้นเอ็มนิ้วมือ จากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน การจับเม้าส์ในท่าเดิมนานๆ ซึ่งก่อให้เกิดกล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทและเส้นเอ็นจนเกิดอาการอักเสบเกิดเป็นพังผืดยึดจับบริเวณนั้นๆเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดอาการปวดปลายประสาท นิ้วล็อก หรือข้อมือล็อกได้

12. ต้อหิน ตาพร่ามัว

1 ใน 10 ของคนอายุ 40 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคต้อหิน หรือบางคนอาจจะกำลังเป็นโรคนี้โดยไม่รู้ตัว สาเหตุนั้นเกิดจากการใช้สายตาจ้องมองคอมพิวเตอร์นานๆ หรือเกิดจากการติดเชื้อของกระจกตาจากการใส่คอนแทคเลนส์ และสิ่งที่อันตรายที่สุดคือ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะทำให้ตาบอดได้

13. โรคนิ่วในถุงน้ำดี

มีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น Pizza ไก่ทอด โดนัท ขนมปัง เป็นต้น มักพบในเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป คนอ้วน มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากกว่าคนผอม แต่ก็ยังคงมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลให้เกิดโรคนี้ด้วยเช่นกัน เช่น กรรมพันธุ์ การอักเสบและการคั่งของน้ำดีในถุงน้ำดี การทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานานๆ โดยเมื่อเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดีแล้ว ถ้าไม่รีบรักษาอาจจะก่อให้เกิดอาการเรื้อรังตามมา

14. โรคซึมเศร้า

หนึ่งในโรคที่เรามักจะพบได้มากขึ้นในสภาวะสังคมเมืองในปัจจุบัน โดยโรคนี้จะส่งผลกับสภาพจิตใจมากกว่าระบบร่างกายของเราโดยตรง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ เริ่มมาจากสภาพความเครียด ความกดดัน และความสัมพันธ์ทางด้านสังคมภายในองค์กรที่อาจจะสร้างแรงตึงเครียดขึ้นกับเพื่อนร่วมงาน คนอื่น ๆ จนสะสมมากขึ้น ๆ จนกลายเป็นภาวะซึมเศร้าในที่สุด ซึ่งโรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องปฏิบัติตามแผนการรักษาของแพทย์เพื่อให้อาการดีขึ้นและหายในที่สุด รับประทานยาตามแพทย์สั่งให้ครบ เปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต และให้ความร่วมมือกับนักจิตบำบัดในการรักษา และนอกจากนี้ผู้ป่วยยังสามารถรับมือได้ด้วยตนเองโดยไม่ตั้งเป้าหมายการทำงานที่ยากเกินไป วางแผนสิ่งที่ต้องทำให้เป็นระเบียบในแต่ละวันจะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้ เขียนบันทึกระบายความรู้สึกออกมาบ้าง ออกกำลังกายผ่อนคลายความเครียดซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้จะช่วยให้เราก้าวผ่านโรคนี้ไปได้นั่นเอง

15. โรคการได้ยินเสื่อมจากเสียงดัง

เกิดจากการสัมผัสกับเสียงดังเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน อาชีพที่พบบ่อย ได้แก่ งานอุตสาหกรรมโลหะ งานตัดไม้ เลื่อยไม้ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมยางและพลาสติก อาชีพขับรถรับจ้าง เป็นต้น

ในปี พ.ศ. 2560 พบผู้ป่วยโรคการได้ยินเสื่อมเหตุเสียงดัง จำนวน 42,946 ราย คิดเป็นอัตราป่วยต่อประชากรแสนราย เท่ากับ 71.29 กลุ่มอาชีพที่พบผู้ป่วยมากที่สุด คือ กลุ่มอาชีพผู้ปลูกพืชไร่และพืชสวน กลุ่มคนงานรับจ้างทั่วไป และกลุ่มผู้ไม่มีงานทำ ตามลําดับ

อันตรายอย่างไร:

1.การสูญเสียการได้ยิน มี 2 ลักษณะ

- แบบชั่วคราว เกิดขึ้นเนื่องจากรับฟังเสียงดังมากๆ ในเวลาไม่นาน ทำให้เกิดหูอื้อ ถ้าหากหยุดรับฟังเสียงดัง การได้ยินจะคืนสู่สภาพปกติ

- แบบถาวร เกิดจากการรับฟังเสียงดังเป็นเวลานาน เชลล์ขนในหูชั้นในถูกทำลาย ทำให้รับฟังเสียงไม่ได้ เกิดหูตึง หูพิการ

2. ผลเสียต่อร่างกายและจิตใจ

เกิดรำคาญ หงุดหงิด เครียด รบกวนการนอนหลับ ขาดสมาธิ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง เป็นอุปสรรคต่อการสื่อสารทำงานทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

วิธีป้องกัน:

. 1. หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมหรืออยู่บริเวณที่มีเสียงดัง หรือลดระยะเวลาที่สัมผัสเสียงดังต่างๆ

2. หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ให้ใส่ที่อุดหู ที่ครอบหูที่ได้มาตรฐาน อย่าพึ่งยานอนหลับ ยากล่อมประสาท หากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์

16. โรคจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

มีเหล่าเกษตรกรจำนวนมากที่ใช้งานสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างไม่ระมัดระวัง จนเกิดอันตรายต่อสุขภาพ

. ในปี 2560 มีผู้ป่วยจากโรคจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 10,312 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 17.12 ราย (ต่อแสนประชากร) และมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี

อันตรายอย่างไร:

สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทุกชนิดเป็นอันตรายต่อสุขภาพ การแสดงอาการจากการได้รับสารพิษมีอยู่ 2 แบบคือ

1. พิษเฉียบพลัน เกิดขึ้นเมื่อได้รับพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทันทีทันใด ตัวอย่างเช่น ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บหน้าอก ปวดกล้ามเนื้อ เหงื่อออกมาก ท้องร่วง เป็นตะคริว หายใจติดขัด มองเห็นไม่ชัดเจน หรือตาย

2. พิษเรื้อรัง เกิดขึ้นเมื่อได้รับพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแล้วแสดงผลช้า ใช้เวลานาน อาการอาจใช้เวลาเป็นเดือน เป็นปีภายหลังจากการได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จึงจะแสดงออกมาให้เห็น เช่น การเป็นหมัน การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ การเป็นอัมพฤต อัมพาต และมะเร็ง เป็นต้น

วิธีป้องกัน:

1.อ่านฉลากทุกครั้งก่อนใช้

2.สวมถุงมือป้องกันทุกครั้ง เมื่อสัมผัสสารเคมี

3.ควรสวมถุงมือยางก่อนทำความสะอาดเสื้อผ้าที่เปียกชุ่มด้วยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

4.สวมรองเท้าบู๊ท หน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อ ฉีดพ่นสารเคมี

5.ควรอยู่ให้ห่างสถานที่ ที่มีการฉีดพ่นสารเคมี

6.เก็บสารเคมีให้ห่าง จากมือเด็ก สัตว์เลี้ยง และเขียนป้ายกำกับชัดเจน“ วัตถุอันตราย หรือ สารเคมีอันตราย”

7.ควบคุมศัตรูพืชโดยวิธีชีวภาพ หรือ ภูมิปัญญาท้องถิ่น

8.ไม่ส่งเสริม การเพาะปลูกพืชบางชนิดที่ในขบวนการผลิต ต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากเกินความจำเป็น

9.ส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรแบบไร้สารพิษ เกษตรอินทรีย์ หรือการผลิตทางการเกษตรที่มีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่นที่ไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

.

.

17. โรคซิลิโคสิส

เกิดขึ้นจากการรับสัมผัสฝุ่นที่มีซิลิกาเป็นองค์ประกอบ โดยมาจากการทำงานก่อสร้าง แกะสลักหิน แกะสลักพระพุทธรูป แกะสลักเก้าอี้หรือม้านั่งหิน เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2560 พบผู้ป่วยโรคซิลิโคสิส จำนวน 195 ราย จาก 28 จังหวัดทั่วประเทศ คิดเป็นอัตราป่วยต่อประชากรแสนรายเท่ากับ 0.32 โดยจังหวัดนครราชสีมาพบผู้ป่วยสูงสุด (91ราย)

อันตรายอย่างไร:

ขนาดของฝุ่นซิลิคอนไดออกไซด์ ก็เป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดโรคซิลิโคสิส โดยเฉพาะฝุ่นที่ม็ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.05 – 5 µ ซึ่งสามารถเข้าไป อยู่ในถุงลมปอดได้ โดยจะถูกเม็ดเลือดขาวในปอดจับกินและมีผลทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อเนื้อปอด ซึ่งต่อมาจะก่อให้เกิดพังผืดที่เนื้อปอด เมื่อยังคงหายใจเอาฝุ่นเข้าไปอย่างต่อเนื่องจะทำให้เนื้อปอดเสียเป็นวงกว้างจนทำให้ปอดไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้ที่สัมผัสฝุ่นที่ซิลิกอนไดออกไซด์เป็นจำนวนสูงโดยไม่มีการป้องกัน

วิธีป้องกัน:

ทำความสะอาดและฉีดม่านน้ำลดฝุ่นเป็นระยะๆ และใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นที่มีประสิทธิภาพสูง

18. โรคที่เกิดจากแร่ใยหินแอสเบสตอส

หรือโรคปอดอักเสบเรื้อรังและเป็นพังพืดที่เนื้อปอด จากการรับสัมผัสเอาฝุ่นแร่ใยหินไปสะสมอยู่ ในปอดเป็นระยะเวลานาน มักเกิดขึ้นกับผู้ที่ได้รับฝุ่นแร่ใยหินในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 7- 10 ปี ขึ้นไป

ในปี พ.ศ. 2560 พบผู้ป่วยโรคที่เกิดจากแร่ใยหินแอสเบสตอส จํานวน 163 ราย จาก 57 จังหวัดทั่วประเทศคิดเป็นอัตราป่วยต่อประชากรแสนราย เท่ากับ 0.27อาชีพที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสกับแร่ใยหินในช่วงเวลาเสี่ยงมีดังนี้: ช่างทำฉนวนกันความร้อน ช่างทำหม้อน้ำและถังน้ำ ช่างประปา ช่างติดตั้งท่อ และช่างท่อน้ำ คนงานอู่ต่อเรือ คนงานผลิตแผ่นโลหะ ช่างผลิตพลาสติก ช่างเคมี ช่างเครื่องปรับอากาศ เครื่องทำความร้อน และตู้ทำความเย็น

ณ ปัจจุบัน แร่ใยหินไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไป ทำให้ผู้ที่ยังคงมีความเสี่ยงต่อการสัมผัสโดนแร่ใยหินก็คือผู้ที่ทำงานในอาคารทรุดโทรมที่สร้างจากวัสดุที่มีแร่ใยหินแฝงอยู่ อย่างเช่นคนงานทำนุบำรุง และคนงานทำลายตึก เป็นต้น

อันตรายอย่างไร:

ทางผิวหนัง เส้นใยแร่ใยหินมีความแหลมคมทำให้แทงไช ผิวหนัง เกิดอาการระคายเคือง เกิดตุ่มและบาดแผลที่ผิวหนัง

ทางการหายใจ เกิดปฏิกิริยาอักเสบที่บริเวณหลอดลมฝอยส่วนปลาย เกิดพังพืด กลายเป็นโรคเยื่อหุ้มปอดอักเสบเรื้อรัง

อาการแสดงของโรค มีอาการไอและหายใจหอบเหนื่อย อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก มีช่วงการหายใจออกสั้น จากการตรวจร่างกายอาจสังเกตเห็นริมฝีปาก ลิ้น หรือเล็บเป็นสีน้ำเงินคล้ำ เนื่องจากร่างกายขาดออกซิเจน เมื่อฟังปอดจะได้ยินเสียงได้ยินผิดปกติที่ฐานปอด

วิธีป้องกัน:

ถ้าจำเป็นต้องทำงานในพื้นที่ที่มีแร่ใยหิน ควรมีมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวด เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสแร่ใยหิน เช่น การหุ้มห่อ ใช้กระบวนการแบบเปียก มีเครื่องดูดอากาศออกสู่ภายนอกผ่านตัวกรอง และมีการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ จำเป็นต้องมีเครื่องป้องกันส่วนบุคคลด้วย ได้แก่ เครื่องช่วยหายใจพิเศษ แว่นตานิรภัย เสื้อผ้าและถุงมือป้องกันตลอดจนอุปกรณ์พิเศษเพื่อกำจัดการปนเปื้อน

19.โรคพิษสารทำละลายอินทรีย์

เป็นโรคที่เกิดจากสารทำละลาย เข้าไปทำอันตรายหรือทำให้เกิดพิษต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย กลุ่มเสี่ยงคือผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมและงานที่ใช้สารทำละลายชนิดต่างๆ

ในปี พ.ศ. 2560 พบผู้ป่วยโรคจากพิษสารทําละลายอินทรีย์ จํานวน 18 ราย จาก 12 จังหวัด ทั่วประเทศคิดเป็นอัตราป่วยต่อประชากรแสนรายเท่ากับ 0.03

อันตรายอย่างไร:

พิษของสารทำละลายส่วนใหญ่จะมีผลกระทบประสาทส่วนกลาง มีอาการเฉียบพลัน ได้แก่ ปวดศีรษะ วิงเวียน บ้านหมุน ง่วง สับสน ถ้าเรื้อรังจะทำให้เกิดการเสื่อมของระบบประสาทส่วนกลางได้ เซ และมีอาการผิดปกติทางด้านจิตและประสาทได้ สารทำละลายบางตัวจะมีผลเสียต่อระบบสร้างเลือด เกิดภาวะโลหิตจางอย่างถาวร ซีด อ่อนเพลีย มีเลือดออกง่าย มีจ้ำเลือด และบางชนิดทำให้เกิดมะเร็งของเม็ดเลือดขาว เช่น เบนซีน สารทำละลายเกือบทุกชนิดจะมีผลระคายเคืองต่อผิวหนัง ทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ และระคายเคืองต่อเยื่อบุตา และทางเดินหายใจด้วย นอกจากนั้นยังเป็นพิษต่อตับ และไตในบางรายด้วย

การป้องกัน:

1. ให้ความรู้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องควรรู้เรื่องเกี่ยวกับพิษของสารทำละลายและวิธีป้องกัน

2. แหล่งเก็บสารทำละลายควรเป็นที่ปลอดภัย มีป้ายบอกชื่อและ เตือนภัยชัดเจน

3. มีระบบกำจัดไอระเหยของสารทำละลายแบบเฉพาะที่หรือที่ถูกต้อง

4. มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันตัว เช่นหน้ากากที่รับรองแล้ว หรือชุดปฏิบัติงานที่เหมาะสม

5. เปลี่ยนชุดปฏิบัติงาน ล้างมือ อาบน้ำ สระผม กรณีทำงานหรือสัมผัสกับสารทำละลาย

6. การตรวจสุขภาพเพื่อค้นพบโรคพิษสารทำละลายในผู้ทำงานที่สัมผัสกับสารทำละลายเป็นประจำ

.

20. โรคพิษโลหะหนัก

มีสาเหตุมาจากการทํางานที่เกี่ยวข้องและจากสิ่งแวดล้อมที่มีสารโลหะหนักปนเปื้อน โลหะหนักโดยทั่วไปที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม ได้แก่ สารตะกั่ว แคดเมียม ปรอท แมงกานีส สารหนู เป็นต้น

โลหะหนักสามารถสะสมในร่างกาย โดยได้รับผ่านอาหาร น้ำ สารเคมีในอุตสาหกรรม หรือแหล่งอื่นๆ ขณะที่ร่างกายต้องการโลหะหนักบางชนิดในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น เช่น สังกะสี ทองแดง โครเมียม เหล็ก และแมงกานีส แต่ถ้าหากถ้าเนื้อเยื่อมีการสะสมของโลหะหนักในปริมาณที่มากเกินจะเกิดภาวะพิษทำให้เนื้อเยื่อเกิดความเสียหายรุนแรง

ในปี พ.ศ. 2560 พบผู้ป่วยโรคจากพิษโลหะหนัก จำนวน 2 ราย จาก 2 จังหวัดทั่วประเทศ คิดเป็นอัตราป่วยต่อประชากรแสนราย เท่ากับ 0.003

อันตรายอย่างไร:

การเกิดพิษจากสารโลหะมักพบได้ทั้งชนิดเฉียบพลัน และเรื้อรังพิษจากโลหะหนักขึ้นกับชนิดของโลหะที่ทำให้เกิดพิษ ถ้าเกิดภาวะพิษฉับพลันจากโลหะหนัก คือ ได้รับโลหะหนักปริมาณมากในครั้งเดียว (ตัวอย่างเช่น กลืนของเล่นเข้าไป) จะมีอาการ ดังนี้ มึนงง ตัวชา อาเจียน หมดสติถึงขั้นโคม่า ส่วนการได้รับโลหะหนักในระยะยาวทำให้เกิดอาการ ดังนี้ เวียนศีรษะ อ่อนแรง เหนื่อยเพลีย ปวดกล้ามเนื้อปวดข้อ ท้องผูก

การป้องกัน:

1. สวมหน้ากากและชุดป้องกันหากทำงานในที่ที่มีโลหะหนัก

2. โลหะหลายชนิดสะสมในฝุ่นและสิ่งสกปรกดังนั้นควรทำความสะอาดบ้านให้มากเท่าที่ทำได้

3. ให้ความสนใจกับคำเตือนปริมาณตะกั่วในปลาท้องถิ่นที่วางขาย

4. ระวังแหล่งที่ทำให้สัมผัสกับสารตะกั่ว

5. ตรวจสอบโลหะหนักในฉลากผลิตภัณฑ์ต่างๆที่นำกลับบ้าน