Categories: All - วิจัย - วิเคราะห์ - ข้อมูล

by KITSADA BUAKEAW 1 year ago

177

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง(การสุ่ม)

การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประชากรและกลุ่มตัวอย่างมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากไม่สามารถรวบรวมข้อมูลทั้งหมดจากประชากรได้อย่างครอบคลุมและแม่นยำ การใช้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของประชากรจะช่วยให้การวิจัยมีประสิทธิภาพมากขึ้น การสุ่มตัวอย่างเป็นกระบวนการที่ใช้ในการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีความเป็นตัวแทนที่ดีจากประชากร โดยมีวิธีการสุ่มที่หลากหลายและสอดคล้องกับคุณลักษณะของประชากร การศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างช่วยประหยัดเวลา งบประมาณ และสามารถสรุปผลที่ถูกต้องแม่นยำได้รวดเร็วขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างสามารถนำผลมาใช้ประโยชน์ได้อย่างสอดคล้องกับเหตุการณ์และมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ทั้งนี้ประชากรสามารถแบ่งเป็นประชากรแบบจำกัดที่สามารถนับจำนวนได้ครบถ้วน และประชากรแบบไม่จำกัดที่ไม่สามารถนับจำนวนได้ทั้งหมด เช่น จำนวนปลาในแม่น้ำหรือจำนวนต้นไม้ในประเทศไทย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง(การสุ่ม)

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง(การสุ่ม)

ข้อจำกัดของการศึกษา/วิจัยที่ศึกษาจากประชากร ในการศึกษา

ผลการวิจัยไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ที่จะสามารถนำผลไปใช้ ประโยชน์ได้
เป็นข้อมูลที่ไม่ลึกซึ้งและไม่ชัดเจน เนื่องจากมีประชากรจำนวนมากแต่มีเวลาที่จำกัด
ได้ข้อมูลที่มีความคลาดเคลื่อนเนื่องจากมีจำนวนมาก
ใช้แรงงานคนจำนวนมาก
ใช้งบประมาณ ค่าใช้จ่ายจำนวนมากในดารออกเก็บรวบรวมข้อมูล
ใช้ระยะเวลานานในการเก็บรวบรวมข้อมูล

จำแนกตามลักษณะของประชากร

มีลักษณะเป็นวิวิธพันธ์ (Heterogeneity)หมายถึง ประชากรในแต่ละหน่วยมีคุณลักษณะและโครงสร้างที่แตกต่างกัน
มีลักษณะเป็นเอกพันธ์ (Homogeneity) หมายถึง ประชากรในทุก ๆ หน่วยมีคุณลักษณะ/โครงสร้างที่คล้ายคลึงกัน
กระบวนการสุ่ม
การสุ่มสิ่งทดลอง
การสุ่มจำแนกกลุ่ม
วิธีการได้มาของกลุ่มตัวอย่างจากประชากรที่มีความเป็นตัวแทนที่ดี โดยในการดำเนินการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจะมีวิธีการสุ่มที่หลากหลายที่นำมาใช้ สอดคล้องกับคุณลักษณะของประชากร

ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวอย่างและประชากร

กลุ่มย่อยของประชากรเฉพาะการวิจัยที่มีความเป็นตัวแทนที่ดี หรือมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับประชากร และมีปริมาณที่มากเพียงพอเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างสู่ประชากร
ประชากรเฉพาะการวิจัย(Incumbent Populations)หมายถึง กลุ่มประชากรขนาดเล็กที่ เป็นส่วนหนึ่งของประชากรตามสมมุติฐานที่เป็นประชากรในการวิจัยที่ได้มาเนื่องจากข้อจำกัดเกี่ยวกับกำลังคน และทรัพยากรที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรตามสมมุติฐาน(Hypothesis Populations) หมายถึง กลุ่มย่อยของประชากรทั่วไปที่จำกัดขอบเขตตามแนวคิด ทฤษฏีที่นำมากำหนดเป็นสมมุติฐาน หรือตามความสนใจของผู้วิจัย
ประชากรทั่วไป(General or Real Populations)หมายถึง ประชากรทั้งหมดที่มีขนาดใหญ่ จำนวนสมาชิกมีมากจนกระทั่งนับไม่ได้

เหตุผลที่จำเป็นจะต้องวิจัย/ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างแทนประชากร ในการศึกษา

สามารถสรุปผลอ้างอิงไปสู่ประชากรได้
จากพิจารณาประชากรแล้วพบว่าไม่สามารถดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ ครอบคลุมอาทิ ระยะทางที่ห่างไกล/อันตราย มีเวลาที่จำกัด เป็นต้น
นำผลการวิเคราะห์มาใช้ประโยชน์ได้สอดคล้องกับเหตุการณ์
มีความถูกต้อง แม่นยำมากขึ้น
ประหยัดเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาสรุปผลได้รวดเร็วมากขึ้น หรือประหยัดการใช้งบประมาณในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีค่อนข้างจำกัด
เนื่องจากการใช้กลุ่มตัวอย่างจะมีจำนวนน้อยกว่าประชากร ทำให้มีเวลาที่จะศึกษาและเก็บข้อมูลที่มีรายละเอียดได้ชัดเจนมากขึ้น

การสุ่มตัวอย่าง

ความหมายของการสุ่มตัวอย่าง
การสุ่ม(Sampling) หมายถึง กระบวนการเลือก “ตัวอย่าง” จาก “ประชากร”เพื่อให้ กลุ่มตัวอย่างเป็นตัวแทนของประชากรในการให้ข้อมูล และสามารถใช้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง เป็นข้อมูลอ้างอิงสู่ประชากรได้อย่างสมเหตุสมผลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความเที่ยงตรงภายนอกที่สูงขึ้น (ปาริชาต สถาปิตานนท์.2546:131)
กรอบในการสุ่มตัวอย่าง(Sampling Frame) หมายถึง เอกสาร หรือบัญชีรายชื่อของประชากรที่ต้องการศึกษา ที่เป็นเกณฑ์ในการจำแนกประชากรในการวิจัยออกจากประชากรโดยทั่วไป (ปาริชาต สถาปิตานนท์.2546: 129)

กลุ่มตัวอย่าง

ความหมายกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่าง(Sample) หมายถึง บางหน่วยของประชากรที่น ามาศึกษาแทนประชากร เป้าหมายในงานวิจัยนั้น ๆ อันเนื่องจากมีข้อจำกัดในการดำเนินการวิจัยแต่จะต้องมีความเป็น ตัวแทนที่ดี และมีขนาดที่เหมาะสม
สมาชิกกลุ่มย่อย ๆ ของประชากรที่ต้องการศึกษา ที่นำมาเป็นตัวแทนเพื่อศึกษาคุณลักษณะของประชากรแล้วน าผลจากการศึกษาคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง(Statistic)ไปใช้อ้างอิงคุณลักษณะของประชากรได้(Parameter)(ปาริชาต สถาปิตานนท์.2546:130)

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประเภทของประชากร
ประชากรแบบไม่จ ากัด(Infinite Population) หมายถึง ทุก ๆ หน่วยของสิ่งที่ต้องการศึกษา แต่ไม่สามารถที่จะระบุขอบเขตหรือจ านวนได้อย่างครบถ้วน อาทิ จำนวนปลาในแม่น้ำ หรือ จำนวนต้นไม้ในประเทศไทย เป็นต้น
ประชากรแบบจำกัด(Finite Population) หมายถึง ทุก ๆ หน่วยของสิ่งที่ต้องการศึกษา ที่สามารถระบุขอบเขตหรือนับจำนวนทั้งหมดได้อย่างครบถ้วน
ความหมายของประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร หมายถึง จ านวนทั้งหมดของหน่วยซึ่งมีคุณสมบัติบางอย่างที่ผู้วิจัยสนใจศึกษาและ มีปรากฏอยู่ในช่วงเวลานั้น ๆ (Sedlack and Stanley,1992 : 104)
ประชากร หมายถึง คน สัตว์ และสิ่งของต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติตามที่ผู้วิจัยก าหนดและสนใจ ศึกษาตามเงื่อนไข 1)งานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องอะไร 2)หน่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล คืออะไร และ ผู้วิจัยก าหนดขอบเขตของการวิจัยกว้างขวางเพียงใด มีความครอบคลุมเพื่อน าไปใช้อ้างอิงเพียงใด (ปาริชาต สถาปิตานนท์.2546:128)