ประเภทของเครือข่าย
ประเภทของเครือข่ายแบ่งตามระดับความปลอดภัยของข้อมูล
เอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet)
เครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของ
เครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกันระหว่างสององค์กรหรือบริษัท
อินทราเน็ต(Intranet)
เครือข่ายส่วนบุคคลหรือตรงกันข้ามกับอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเทรอร์เน็ต เช่น เว็บ อีเมล FTP เป็นต้น
อินเทอร์เน็ต (Internet)
เครือข่ายสาธารณะหรืออินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลก ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆ เครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบและยังขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี อินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระ โดยที่ระยะทางและเวลา
ไม่เป็นอุปสรรค
การจำแนกประเภทของเครือข่าย
ใช้ขนาดกายภาพทางภูมิศาสตร์ของเครือข่ายเป็นเกณฑ์
ใช้ระดับความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเกณฑ์
เครือข่ายร่วม (Extranet)
เครือข่ายส่วนบุคคล (Intranet)
เครือข่ายสาธารณะ (Internet)
ใช้ลักษณะหน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเป็นเกณฑ์
ประเภทของเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการต่างๆ
เครือข่ายแบบผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ (Client-Server Network)
เครือข่ายแบบเท่าเทียม (Peer-to-Peer Network)
ประเภทของเครือข่ายแบ่งตามหน้าที่ของคอมพิวเตอร์
ประเภทเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการต่างๆ
Print Server
เรียกว่าระบบ SPOOL (Simultaneous Peripheral Operation
On-Line) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถพิมพ์งานได้พร้อมกันหลายคน โดยเครื่อง Client สั่งพิมพ์งานจะส่งข้อมูลไปให้เครื่องที่เป็นเซิร์ฟเวอร์
Application Server/ Database Server
เป็นการทำงานที่ซับซ้อนกว่า File
Server อีกระดับหนึ่ง ตัวอย่างที่เราพบบ่อยๆ คือ Database Server หรือ SQL Server ซึ่งจะย้ายหน้าที่การค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลหรือ Database มาไว้ที่เซิร์ฟเวอร์เอง
File Server
ลักษณะการทำงานแบบนี้ เซิร์ฟเวอร์จะเป็นผู้จัดการระบบไฟล์บนดิสก์
ในเครื่องของตนเอง โดยรับคำสั่งจากผู้ขอใช้บริการหรือ Client อีกทอดหนึ่งว่าจะอ่านหรือบันทึกข้อมูลกับไฟล์ใด แล้วจึงจัดการกับไฟล์ในดิสก์หรือส่งข้อมูลกลับไปตามที่ถูกขอมา
เครือข่ายแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์(Client/Server Network
เป็นระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือนๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบเครือข่าย แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่ให้
บริการทรัพยากรต่างๆ ให้กับเครื่อง Client
เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer to Peer Network)
เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะสามารถ
แบ่งทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่งกันและกันภายในเครือข่ายได้
ประเภทของเครือข่ายแบ่งตามขนาดกายภาพทางภูมิศาสตร์
เครือข่ายบริเวณกว้าง (WAN: Wide Area Network)
เครือข่ายบริเวณกว้าง (WAN: Wide Area Network) เป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงเครือข่ายแบบท้องถิ่นตั้งแต่ 2 เครือข่ายขึ้นไปเข้าด้วยกันผ่านระยะทางที่ไกลมาก โดยการเชื่อมโยงจะผ่านช่องทางการสื่อสารข้อมูลสาธารณะของบริษัทโทรศัพท์หรือองค์การโทรศัพท์ของประเทศต่างๆ
เครือข่ายในเขตเมือง (MAN: Metropolitan Area Network)
เครือข่ายในเขตเมือง (MAN: Metropolitan Area Network) หรือเครือข่ายแมน คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มากจะมีขนาดครอบคลุมเมืองหรือบริเวณมหาวิทยาลัย ระบบโครงสร้าง
พื้นฐานโดยปกติแล้วจะเป็นระบบไร้สายเช่นการใช้คลื่นไมโครเวฟหรือใช้ใยแก้วนำแสง เป็นตัวเชื่อมต่อ
ระหว่างสถานที่ต่างๆ เข้าด้วยกัน
เครือข่ายท้องถิ่น (LAN: Local Area Network)
แบบริง (Ring)
เป็นระบบที่มีการส่งข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะมีเครื่อง
Server หรือ Switch ในการปล่อยวงแหวนเครือข่าย (Token)
แบบสตาร์ (Star)
เป็นระบบที่มีเป็นการต่อแบบรวมศูนย์ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์
ทุกเครื่องจะต่อสายเข้าไปที่อุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch
แบบบัส (Bus)
มีการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10-100 MB/s จะเชื่อมต่อกันบน
สายสัญญาณเส้นเดียวกัน โดยจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า T-Connector
ระบบเครือข่ายเป็นระบบสื่อสารข้อมูลที่ถูกออกแบบให้มีการใช้ทรัพยากรเครือข่ายร่วมกัน ทั้งนี้เป็นเพราะอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ผู้ใช้หลายๆ คน สามารถใช้ร่วมกันในระบบเครือข่ายรวมทั้งซอฟต์แวร์ที่มีราคาแพง ซึ่งสามารถใช้หลายๆ คนพร้อมกันได้ หรือเมื่อมีความต้องการที่จะโอนถ่ายแฟ้มข้อมูลของผู้ใช้ระบบเครือข่าย โดยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถจำแนกได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้