Categories: All - ทักษะ - การวิจัย - แบดมินตัน - การศึกษา

by อภิสิทธิ์ รักขิโต 4 years ago

722

การศึกษาทักษะการเสริฟหลังมือกีฬาแบดมินตันวิชาพลศึกษา

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและสภาวการณ์ต่างๆ ทำให้การศึกษาต้องปรับปรุงหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียน วิชาพลศึกษาเป็นวิชาหนึ่งที่มีความสำคัญในการพัฒนาสุขภาพและจิตใจของมนุษย์ อีกทั้งยังมีผลต่อสติปัญญา อารมณ์ และสังคม การมีทักษะที่ดีในกีฬา จะช่วยให้การฝึกและเล่นกีฬาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยในครั้งนี้มุ่งเน้นการศึกษาทักษะการเสิร์ฟหลังมือในกีฬาแบดมินตัน โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จากวิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ การวิจัยนี้หวังว่าจะให้ผลที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาทักษะการเล่นกีฬาแบดมินตัน รวมถึงบุคลิกท่าทางในการเล่นกีฬา สมมติฐานในการวิจัยคือความสามารถในการเสิร์ฟลูกแบดมินตันของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองจะดีขึ้นกว่าเดิม แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญหลังการฝึก

การศึกษาทักษะการเสริฟหลังมือกีฬาแบดมินตันวิชาพลศึกษา

การศึกษาทักษะการเสริฟหลังมือกีฬาแบดมินตันวิชาพลศึกษา

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.ทราบว่านักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจการ พัฒนาทักษะของแบดมินตัน(การเล่นลูกหลังมือ) เป็นอย่างไร 2.บุคลิกท่าทางการเล่นกีฬาแบดมินตันในการเสริฟแบดมินตันของนักศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ 3. ทราบผลการใช้กิจกรรมการพัฒนาทักษะการเล่นกีฬาแบดมินตันของนักศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

สมมติฐานในการวิจัย

ความสามารถในการเสิร์ฟลูกแบดมินตันของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองดีขึ้นกว่าเดิม แต่ทั้ง 2 กลุ่มภายหลังการฝึกไม่แตกต่างกัน

เข้าสังคม

การเล่นเเบดมินตันยังทำให้คุณได้พบเจอสังคมใหม่ ๆ เพราะเเบดมินตันนั้นต้องเล่นเป็นคู่อย่างน้อยสองคนเสมอ จึงช่วยพัฒนาทักษะการเข้าสังคมเเละขยายเเวดวงคนรู้จักให้กว้างกว่าเดิม

ลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน

การเล่นเเบดมินตันสามารถลดโอกาสการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ถึง 58% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าการใช้ยา ลดการผลิตน้ำตาลโดยรวมของตับ รวมทั้งลดความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานของร่างกาย โดยรวมแล้ว ผู้ที่เล่นเเบดมินตันเป็นประจำนั้นเสี่ยงเป็นเบาหวานน้อยกว่าคนทั่วไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะของกีฬาแบดมินตัน(การเล่นลูกมือบน) 2. เพื่อพัฒนาบุคลิกท่าทางการเล่นกีฬาแบตมินตันของนักศึกษา 3. เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการพัฒนาทักษะการเสริฟหลังมือกีฬาแบดมินตัน

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ 1. ขณะที่ทำการทดสอบอาจารย์ประจำวิชาควรให้คำแนะน า อย่างถูกต้องและเอาใจใส่กับนักศึกษาให้มาก เกณฑ์การทดสอบจำนวนนักศึกษาค่าเฉลี่ย(ร้อยละ) ผ่าน ไม่ผ่าน ผ่าน ไม่ผ่าน ครั้งที่ 1ก่อนเรียน 30 16 65.22 34.78 ครั้งที่ 2 หลังเรียน 40 6 86.96 13.0424 ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 1. เกณฑ์และแบบทดสอบที่ใช้ควรผ่านการทดสอบหลายๆครั้งเพื่อนำมาแก้ไขต่อไป 2. ควรมีการวิจัยโดยใช้สื่อประเภทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเล่นแบดมินตัน เช่น ใช้สื่อ โมเดลจำลองหรือสื่อวีดีทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับ ลักษณะการเล่นแบดมินตัน

หลักในการฝึก

1. ในการฝึกทักษะควรทำหลังจากนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ แล้ว 2. ฝึกทักษะตามความต้องการของผู้เรียน ให้ผู้เรียนที่เห็นคุณค่าและประโยชน์ในการฝึก 3. การฝึกควรให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน ดังนั้น นักเรียนทุกคนไม่ จำเป็นต้องได้รับการฝึกแบบเดียว 4. การทำแบบฝึกนั้น ควรจะฝึกเฉพาะเรื่องและให้จบเรื่องนั้น ๆ ก่อนจึงจะฝึกเรื่องต่อไป 5. ในการฝึกไม่ควรให้ซ้ำซากจนน่าเบื่อ ควรจะฝึกเพื่อให้เกิดทักษะหรือความชำนาญใช้เวลาในการฝึกทักษะพอสมควร ไม่มากหรือน้อยเกินไป ฝึกทักษะเฉพาะเรื่องที่เป็นประโยชน์จริง ๆควรใช้กิจกรรมหลาย ๆ แบบและฝึกหลายๆครั้งในแต่ละทักษะ 6. การฝึกให้ได้ผลดีต้องเป็นรายบุคคล 7. แบบฝึกควรมีมาตรฐานจัดให้เหมาะสมมีคำตอบที่ถูกต้องให้คำตอบกับผู้เรียนได้ ตรวจสอบควรจะได้คะแนนในการทำแบบฝึกหัดแต่ละครั้งเพื่อวัดความก้าวหน้า

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ความเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนในสังคมต้องปรับปรุงและพัฒนาตนเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางการศึกษาต้องปรับปรุงเพื่อให้คนมีความรู้ความสามารถให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นด้วยเหตุนี้การศึกษาจึงได้พยายามปรับปรุงหลักสูตรในระดับต่างๆให้ได้มาตรฐานเพื่อเป็นหลักในการนำไปใช้แก้ปัญหาและให้สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะของผู้เรียนซึ่งวิชาพลศึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาพเป็นวิชาหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับมนุษย์มากโดยเฉพาะในส่วนที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตเพราะวิชาพลศึกษาเพื่อพัฒนาสุขภาพ เป็นวิชาที่สร้างสรรค์จิตใจของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับความคิดตลอดจนกระบวนการทางร่างกาย ตลอดจนช่วยให้ผู้เรียนมี ความเจริญงอกงามทั้งสติปัญญาอารมณ์และทางสังคม อย่างไรก็ตามองค์ประกอบหนึ่งที่นับว่าสำคัญคือเรื่องทักษะการเล่นกีฬาของกีฬาประเภทนั้นๆ ถ้าผู้เรียนเรามีทักษะที่ดีหรือมีความเชี่ยวชาญ มีความชำนาญ ก็จะทำให้การฝึกและเล่นกีฬาออกมาดีมีประสิทธิภาพ

ขอบเขตการวิจัย

ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้ประชากรเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปี ที่ 1สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ห้อง 1/7 จ านวน 46คน วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการแขวงบางนา เขตบางนา จังหวัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2561