Categories: All - สารสนเทศ - รายงาน - วิจัย - ความรู้

by Ariya Chaowalit 5 years ago

206

บทที่ 8 การแสวงหาสารสนเทศและความรู้

การศึกษาค้นคว้าขั้นสูงในระดับบัณฑิตศึกษามักต้องมีการทำวิทยานิพนธ์หรือภาคนิพนธ์ ซึ่งเป็นการรายงานผลการวิจัยในหัวข้อที่ผู้เรียนเลือกและศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การทำวิทยานิพนธ์ต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์ การตั้งสมมติฐาน การค้นคว้าหลักฐานเพื่อพิสูจน์สมมติฐาน และการสรุปผลการศึกษา การทำภาคนิพนธ์คล้ายกับรายงานแต่มีรายละเอียดลึกซึ้งมากกว่า มักใช้เวลาในการศึกษาค้นคว้ามากกว่าและทำเพียงเรื่องเดียวในแต่ละรายวิชา เนื่องจากความรู้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามสังคมโลกาภิวัตน์และความก้าวหน้าของเทคโนโลยี วิธีการแสวงหาสารสนเทศและความรู้ใหม่ ๆ มีความสำคัญมาก การแสวงหาความรู้ในสังคมสารสนเทศสามารถทำได้หลายวิธี รายงานเป็นผลจากการศึกษาค้นคว้าวิจัยที่เรียบเรียงตามขั้นตอนทางวิชาการและรูปแบบการเขียนรายงานที่เป็นมาตรฐาน

บทที่ 8
การแสวงหาสารสนเทศและความรู้

บทที่ 8 การแสวงหาสารสนเทศและความรู้

5. การใช้เครื่องหมายวรรคตอนในรายการอ้างอิง

5.5 การใช้คำย่อในการเขียนรายการอ้างอิง
คำย่อที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป โดยเฉพาะในการเขียนรายการอ้างอิง
5.4 เครื่องหมายมหัพภาคคู่ ( : colon)
ใช้เพื่อคั่นระหว่างชื่อสถานที่พิมพ์ (ชื่อ เมือง, ชื่อรัฐ) และชื่อสำนักพิมพ์
5.3 เครื่องหมายอัฒภาค ( ; semi-colon)
ใช้เมื่อข้อความส่วนนั้นได้ใช้ เครื่องหมายจุลภาคไปแล้ว โดยเฉพาะกรณีอ้างอิงเรื่องเดียวกันหลายๆ คน เช่น Several researchers (Greenberg, Domitrovich, & Bumbarger, 2000; Yawn et al., 2000) …
5.2 เครื่องหมายจุลภาค ( , comma) ใช้ในกรณีต่อไปนี้
- ใช้คั่นระหว่างผู้แต่งและปีพิมพ์ (กรณีการอ้างอิงระบบนามปี)
- ใช้คั่นระหว่างชื่อผู้แต่งคนที่ 1 ถึงคนที่ 5 (กรณีมีผู้แต่ง 3-6 คน
- คั่นระหว่างชื่อและบรรดาศักดิ์ กรณีของผู้แต่งชาวไทย
- คั่นระห ว่างชื่อสกุลกับชื่อต้น กรณีที่กลับชื่อสกุลของผู้แต่งชาว ต่างประเทศ
5.1 เครื่องหมายมหัพภาค ( . period) ใช้ในกรณีดังต่อไปนี้
- เมื่อใช้ชื่อย่อหรือค าย่อ เช่น Ed. หรือ Eds. เป็นต้น
- เมื่อเขียนย่อชื่อแรกหรือชื่อกลางของผู้แต่งชาวต่างประเทศ เช่น Kennedy, J. F. เป็นต้น

3. การอ้างอิงเอกสาร (Citations)

3.2 การอ้างอิงเอกสารส่วนท้ายของรายงาน
วืธีการเขียนบรรณานุกรม หรือ เอกสารอ้างอิง มีรายละเอียดของรายการ หลักการลงรายการ และ แบบแผนของรายการ ดังต่อไปนี้

3.2.1 รายละเอียดของรายการ แต่ละรายการประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ 1) ส่วนที่เป็นชื่อผู้แต่ง ได้แก่ ผู้รับผิดชอบในการเขียนหรือผลิตสิ่งพิมพ์ นั้น ซึ่งอาจเป็น ผู้รวบรวม บรรณาธิการ ผู้แปล หรือหน่วยงานต่าง ๆ ก็ได้ 2) ส่วนที่เป็นชื่อเรื่อง ได้แก่ชื่อหนังสือ ชื่อบทความ ชื่อวารสาร และชื่อ ของสิ่งพิมพ์ประเภทนั้น ๆ ที่ผู้เขียนนำมาค้นคว้าอ้างอิง 3) ส่วนที่เป็นการพิมพ์ได้แก่ ครั้งที่พิมพ์ สถานที่พิมพ์สำนักพิมพ์หรือ โรงพิมพ์และปีพิมพ์ของหนังสือ หรือเป็นปีที่ วันเดือนปีของวารสาร หรืออื่น ๆ ที่เป็นรายละเอียด เกี่ยวกับการพิมพ์ของสิ่งพิมพ์แต่ละประเภทนั้น เฉพาะส่วนที่เป็นปีที่พิมพ์จะใส่ไว้ต่อจากชื่อผู้แต่ง

3.1 การอ้างอิงเอกสารในส่วนเนื้อเรื่อง
หมายถึง การอ้างโดยการระบุชื่อผู้แต่งและปีพิมพ์ของเอกสารที่อ้าง แทรกปนไปกับ เนื้อหาของบทความ โดยใช้วิธีการอ้างอิงระบบชื่อ-ปี(Name-year system) ซึ่งเป็นการอ้าง โดยการระบุชื่อผู้แต่ง และปีพิมพ์ของเอกสารที่อ้าง แทรกปนไปกับเนื้อหาของบทความ สำหรับผู้แต่งที่เป็นคนไทยให้ระบุชื่อผู้แต่ง (ชื่อตัว และ ชื่อสกุล) ส่วนผู้แต่งชาวต่างประเทศให้ระบุเฉพาะชื่อสกุล เท่านั้น

การอ้างอิงระบบชื่อ-ปีเขียนได้2 แบบ คือ

* เขียนระบุชื่อผู้แต่ง และปีพิมพ์ไว้ท้ายข้อความ มีรูปแบบดังนี้ (ชื่อผู้แต่ง, ปีพิมพ์)

* เขียนระบุชื่อผู้แต่ง และปีพิมพ์ไว้หน้าข้อความที่อ้าง มีรูปแบบดังนี้ ชื่อผู้แต่ง (ปีพิมพ์)

เอกสารอ้างอิง หมายถึง รายชื่อเอกสารที่ผู้เขียนใช้ศึกษาค้นคว้าในการเรียบเรียง รายงานเรื่องนั้น ๆ และเป็นเอกสารที่ได้เขียนรายการอ้างอิงไว้ในส่วนเนื้อเรื่องเท่านั้น การอ้างอิงเอกสารท้ายรายงานให้ใช้บรรณานุกรม หรือ เอกสารอ้างอิง อย่างใดอย่าง หนึ่งเท่านั้น
บรรณานุกรม หมายถึง รายชื่อเอกสารที่ผู้เขียนใช้ศึกษาค้นคว้าในการเรียบเรียง รายงานเรื่องนั้น ๆ ทั้งที่ได้เขียนรายการอ้างอิงไว้ในส่วนเนื้อเรื่อง และเอกสารที่ไม่ได้ใช้อ้างอิง ในส่วนเนื้อเรื่องแต่ได้อ่านประกอบในการเรียบเรียง นำมาใส่ไว้ท้ายรายงาน เพราะคาดว่า อาจจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านอื่น ๆ
การอ้างอิงเอกสาร หมายถึง การบอกแหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้อ้างอิง ในการเขียนผลงาน เพื่อเป็นการแสดงหลักฐานที่จะทำให้งานเขียนนั้นมีความน่าเชื่อถือเป็น การให้เกียรติแก่ผู้เขียนเดิม และแสดงเจตนาของผู้เขียนว่าไม่ได้คัดลอกข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่มี การอ้างอิง

2. การคัดลอกความคิดของผู้อื่นโดยไม่มีการอ้างอิง (Plagiarism)

การศึกษาค้นคว้าในการศึกษาในระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาค้นคว้า จากความคิดทฤษฎีข้อมูลสถิติที่มีผู้ศึกษาไว้ก่อนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาค้นคว้าจากตำรา หนังสืออ้างอิง บทความวารสาร รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ หรือ อินเทอร์เน็ต ฯลฯ

4. การเรียงลำดับรายการอ้างอิง

หลังจากที่เขียนรายการอ้างอิงหรือบรรณานุกรมของเอกสารที่นำมาใช้อ้างอิงทั้ง หมดแล้ว แต่ละรายการที่ปรากฏจะต้องเรียงลำดับตามลำดับอักษรตัวแรกของรายการที่ ปรากฏ (ก-ฮ, A-Z) ถ้ามีภาษาอังกฤษกับภาษาไทย ให้เรียงแยกกันโดยให้เรียงภาษาไทยมาก่อนเสมอ การเรียงลำดับของรายการอ้างอิง ทำได้ 2 ลักษณะคือ
2) ถ้าจำนวนรายการมีจำนวนมาก ควรเรียงรายการแยกตามประเภทของเอกสาร ทั้งนี้ใน แต่ละประเภทให้เรียงตามลำดับอักษรของผู้แต่งด้วยเช่นกัน ประเภทเอกสารที่แยกได้มีดังนี้

2.5) สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์

2.4) โสตทัศน์

2.3) เอกสารอื่น ๆ เช่น เอกสารการประชุม สัมมนา จุลสาร เป็นต้น

2.2) บทความในหนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์

2.1) หนังสือ

1) ถ้าจำนวนรายการไม่มาก ให้เรียงรวมทุกรายการไว้ด้วยกันโดยเรียงตามลำดับ อักษรของผู้แต่ง

1. การศึกษาค้นคว้าและการทำรายงาน

5.รายงาน (Report)
เป็นผลที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า วิจัย มีการเรียบเรียง ตามระเบียบขั้นตอนทางวิชาการ ตามรูปแบบการเขียนรายงาน ซึ่งรายละเอียด ต่างๆ ของรายงานและการเขียนรายงาน มีดังนี

5.3 ขั้นตอนการเขียนรายงาน การเขียนรายงาน หรือการเขียนผลงานทาง วิชาการมีขั้นตอนการด าเนินงาน 10 ขั้นตอน ดังนี

5.3.10 การเขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Writing)

5.3.9 การเขียนรายการอ้างอิงและบรรณานุกรม (Write the Reference and Bibliography)

5.3.8 การเรียบเรียงรายงาน (Writing and revising)

5.3.7 การจัดทำโครงเรื่องครั้งสุดท้าย (The final outline)

5.3.6 การใช้สารสนเทศจากแหล่งต่างๆ (Using sources of Information)

5.3.5 การอ่านและจดบันทึก (Reading and Notes)

5.3.4 รวบรวมบรรณานุกรม (The working bibliography)

5.3.3 การจัดทำเค้าโครงรายงาน (the Preliminary Outline)

5.3.2 อ่านข้อมูลของเนื้อหาวิชาเพื่อเป็นพื้นความ รู้ (Reading forBackground) และกำหนดวัตถุประสงค์ของการทำรายงาน (Reportobjectives)

5.3.1 เลือกและกำหนดหัวข้อการทำรายงาน (Choose the topics) การเลือกหัวข้อ

5.2. ส่วนประกอบของรายงาน

5.2.3 ส่วนอ้างอิง (Citation) หมายถึง ส่วนที่แสดงหลักฐานประกอบการค้นคว้า และการเขียนรายงานเพื่อให้ทราบว่าผู้ทำรายงานได้ค้นคว้ามาจากแหล่งใดบ้าง ซึ่งประกอบด้วย

5.2.3.2 ภาคผนวก (Appendixes) ภาคผนวกเป็นส่วนที่ให้ รายละเอียดเพิ่มเติมช่วยให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจชัดเจนขึ้น เช่น แบบสอบถามหรือแบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

5.2.3.1 บรรณานุกรม หรือ เอกสารอ้างอิง (References) จะอยู่ต่อ จากส่วนเนื้อหาและก่อนภาคผนวก คือส่วนที่รวบรวมรายชื่อ หนังสือ สิ่งพิมพ์อื่นๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการที่ได้ข้อมูล มาเพื่อประกอบการเขียนรายงานเรื่องนั้นๆ ก าหนดให้ใช้คำว่า “บรรณานุกรม” หรือ “เอกสารอ้างอิง”

5.2.2 ส่วนเนื้อเรื่อง (Body of contents) หมายถึงส่วนที่อยู่ต่อจากส่วนนำ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของรายงานส่วนเนื้อเรื่องจะประกอบด้วยบทนำ เนื้อเรื่อง และสรุป ดังรายละเอียดต่อไปนี้

5.2.2.3สรุป (Conclusion) คือ ส่วนที่เขียนยำ้ หรือนำเสนอประเด็น สำคัญของเนื้อเรื่อง ส่วนสรุปนี้ จะอยู่ในย่อหน้าสุดท้ายของเนื้อ เรื่อง

5.2.2.2เนื้อเรื่อง (Content) คือ ส่วนที่เสนอเรื่องราวสาระทั้งหมดของรายงานตามลำดับของหัวข้อที่ระบุไว้ในหน้าของสารบัญ ในการนำเสนอเนื้อเรื่อง ต้องไม่ใช่เป็นการคัดลอกข้อความจากเอกสารต้นเรื่องที่อ่านมาทุกประโยคทุกตอน

5.2.2.1 บทนำ (Introduction) ต่างจากคำนำ คือการเขียนบทนำ จะต้องอธิบายเนื้อหาอย่างกว้างๆ เป็นการนำผู้อ่านเข้าสู่ เนื้อเรื่อง หรือเนื้อหาของรายงานให้ผู้อ่านเข้าใจในเบื้องต้น

5.2.1 ส่วนนำ หมายถึง ส่วนที่อยู่ต้นเล่มของรายงาน ก่อนถึงเนื้อเรื่อง ส่วนนำ ประกอบด้วย ปกนอก หน้าปกใน คำนำ และสารบัญ ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้

5.2.2.5สารบัญ หรือสารบาญ (Table of contents) คือส่วนที่อยู่ ต่อจากหน้าคำนำ ในหน้าสารบัญ จะมีลักษณะคล้ายโครงเรื่อง ของรายงานท าให้ผู้อ่านได้ทราบว่า ขอบเขต เนื้อหา ของ รายงานคลอบคลุมเรื่องใดบ้าง ในหน้านี้ให้เขียนคำว่าสาร สารบัญไว้ตรงกลางหน้าข้อความในหน้าสารบัญจะเริ่มต้นจาก คำนำ หัวข้อใหญ่ หัวข้อรอง

5.2.2.4 คำนำ (Preface) คือส่วนที่อยู่ถัดจากหน้าปกใน ผู้เขียน รายงานเป็นผู้เขียนเอง โดยกล่าวถึงวัตถุประสงค์และขอบเขต ของรายงาน ตลอดจนคำขอบคุณผู้ที่ให้ความช่วยเหลือในการ รวบรวมข้อมูล หรือการเขียนรายงาน (ถ้ามี) ให้ลงท้าย ด้วยชื่อ ผู้จัดทำรายงาน หากมีหลายคนให้ลงว่าคณะผู้จัดทำ และลง วันที่กำกับ

5.2.2.3กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) เป็นข้อความ แสดงความขอบคุณผู้ช่วยเหลือ สนับสนุนและให้ความร่วมมือใน การค้นคว้าเพื่อท ารายงาน แสดงถึงจรรยาบรรณทางวิชาการที่ ผู้ท ารายงานท างวิชาการควรถือปฏิบัติโดยพิมพ์ค าว่า “กิตติกรรมประกาศ”อยู่กลางหน้ากระดาษ มีความยาวไม่เกิน 1 หน้า ท้ายกิตติกรรมประกาศให้พิมพ์ชื่อและชื่อสกุลของ ผู้เขียนโดยพิมพ์เยื้องไปทางด้านขวามือของข้อความ (อาจมี หรือไม่ก็ได้)

5.2.2.2 หน้าปกใน (Title page) คือส่วนที่อยู่ต่อจากหน้าปกนอก นิยมเขียนเหมือนปกนอก

5.2.2.1 ปกนอก (Cover) คือ ส่วนที่เป็นปกหุ้มรายงานทั้งหมดมีทั้งปก หน้าและปกหลัง กระดาษที่ใช้เป็นปกควรเป็นกระดาษแข็ง พอสมควรสีสันไม่ฉูดฉาด ข้อความที่ปรากฏบนหน้าปก

5.1 ประโยชน์ของการทำรายงาน

ดังนั้นการทำรายงานจึงมีประโยชน์หลายประการ ดังนี้ 1. ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และข้อเท็จจริงใหม่ๆทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ 2. ทำให้มีพัฒนาการทางวิชาการในสาขาวิชาต่างๆ 3. ช่วยให้ทราบข้อมูลที่แท้จริง รวมทั้งข้อบกพร่อง เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาหรือ น ามาใช้พัฒนาการปฏิบัติงาน 4. ทำให้เกิดการรู้จักใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล และสร้างทักษะในการแก้ไขปัญหา 5. เพิ่มพูนทักษะในการเขียนรายงานทางวิชาการ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการ สร้างสรรค์ผลงานวิชาการอื่นๆ ต่อไป

4.การวิจัย (Research)
หมายถึง การสำรวจ ตรวจหา เพื่อหาคำตอบในเรื่องใด เรื่องหนึ่งอย่างมีระบบและแบบแผนตามขึ้นตอนและระเบียบวิธีวิจัย
3.ภาคนิพนธ์ (Term paper)
มีลักษณะเช่นเดียวกับรายงาน เพียงแต่เรื่องที่ ผู้ทำภาคนิพนธ์มีรายละเอียดลึกซึ้งมากกว่า ต้องใช้เวลาในการศึกษาค้นคว้า มากกว่าเช่นใช้เวลา 1 ภาคการศึกษา การทำภาคนิพนธ์โดยทั่วไปผู้เรียนมัก ได้รับมอบหมายให้ทำเพียงเรื่องเดียวในแต่ละรายวิชา
2.วิทยานิพนธ์ ( Thesis/Dissertation)
เป็นรายงานผลของการค้นคว้าวิจัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในระดับปริญญามหาบัณฑิต หรือปริญญาดุษฎี บัณฑิต โดที่ผู้เรียนจะต้องเลือกหัวข้อเรื่องที่ทำด้วยตนเอง และผู้เรียนจะต้อง ทำการค้นคว้าอย่างละเอียดลึกซึ้ง มีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการศึกษา ค้นคว้า การตั้งสมมติฐาน การค้นคว้าพยานเอกสารหลักฐานเพื่อมาพิสูจน์หรือ สนับสนุนสมมติฐาน มีการสรุปผลของการศึกษาค้นคว้าและการอภิปรายผล
1.การศึกษาค้นคว้า
หมายถึง การหาข้อมูลหรือการหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อหา คำตอบจากปัญหาหนึ่งโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้รับความรู้ในเรื่องนั้นๆ การศึกษาค้นคว้าจึงเป็นการแสวงหาสารสนเทศและความรู้ เพื่อให้ได้รับ คำตอบหรือเพื่อนำความรู้นั้นไปใช้ในการแก้ปัญหาและประกอบการตัดสินใจได้
ปัจจุบันการรู้วิธีการแสวงหาสารสนเทศและความรู้ใหม่ ๆ มีความสำคัญยิ่งเพราะ ความรู้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามสังคมโลกาภิวัตน์และความก้าวหน้าของเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร วิธีการแสวงหาความรู้จึงมีความสำคัญมากกว่าการให้ความรู้เพียง อย่างเดียว ดังนั้นการแสวงหาสารสนเทศและความรู้ใหม่ๆ ในสังคมสารสนเทศสามารถทำได้ หลายวิธี ดังนี้ (น้ำทิพย์ วิภาวิน, 2547, 2548, ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์, 2548, จุมพจน์ วนิช กุล, 2549)