การพยาบาลผู้มีปัญหาฆ่าตัวตาย
การประเมินสภาพบุคคลฆ่าตัวตาย
4.หลักฐานเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ทะเบียนประวัติการเจ็บป่วย บันทึกทางการพยาบาลผลการตรวจทางจิตวิทยาต่าง ๆ ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า มีประวัติการทำร้ายตนเอง เผชิญปัญหาชีวิต ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
3.เจ้าหน้าที่ทีมสุขภาพ ได้จากการสัมภาษณ์ การร่วมประชุมปรึกษา การนำาผลการประเมิน
สภาพ การสนทนาเพื่อการบำบัด ร่วมกับการสังเกตความเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์ ความคิด การรับรู้ ค่าพูด และพฤติกรรมมาประกอบการพิจารณาความเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของผู้ป่วย
2.ญาติและบุคคลใกล้ชิด ได้จากการสัมภาษณ์ร่วมกับการสังเกตคำพูด อารมณ์ ความคิด ความ
รู้สึก การรับรู้ และพฤติกรรมของผู้ป่วยที่แสดงออกถึงการมีภาวะซึมเศร้า แยกตัว หรือมีคำพูดที่แสดงถึงการ
ฝากฝังหรือการลา
1 ผู้ป่วย ด้วยการสังเกต การสัมภาษณ์ การปฏิสัมพันธ์ และการตรวจร่างกาย ผู้ที่มีพฤติกรรม
ฆ่าตัวตายมักรู้สึกซึมเศร้า ท้อแท้ เบื่อหน่ายชีวิต ไม่สนใจตนเอง มีความคิดทำร้ายตนเอง เบื่ออาหาร ไม่ยอมรับประทานอาหาร ตั้งใจอดอาหารเพื่อทำร้ายตนเอง มีกิจกรรมลดลง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมนอนไม่หลับติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 3 คืนขึ้นไปมีปัญหาด้านการปรับตัว
ล้มเหลวในชีวิต รู้สึกผิด ไม่สนใจตนเอง ไม่มั่นใจ รู้สึกว่าตนเองต้องล้มเหลวทุกครั้งที่กระทำสิ่งต่าง ๆ รู้สึกไร้คุณค่าและมีความคิดฆ่าตัวตายในที่สุด
วิธีการแก้ปัญหาโดย
การโทษต้วเอง (introjection)
การเก็บกด (repression)
การปฏิบัติการพยาบาล
ด้านการฟื้นฟูสภาพ: ประกอบด้วย การส่งเสริมให้ครอบครัวมีส่วนร่วมดูแลและสร้างครบครัวที่อบอุ่น มีความเข้าใจกัน การฝึกให้ผู้ป่วยสามารถแก้ไขปัญหาเพื่อลดภาวะวิกฤตด้วยตนเองตามศักยภาพที่มีอยู่จนเกิดความรู้สึกมั่นใจที่จะเผชิญชีวิตอยู่ในสังคมได้ รวมทั้งให้แรงเสริมด้วยการชื่นชมพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาหรือการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในตัวผู้ป่วย
ด้านการบำบัดรักษาพยาบาล มีเป้าหมายเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย
3 กรณีให้บริการปรึกษาทางโทรศัพท์แก่ผู้ป่วยที่ฆ่าตัวตายทางโทรศัพท์
3.3 แนวทางการปฏิบัติของผู้ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์
กรณีผู้ป่วยที่กำลังกระทำการฆ่าตัวตายขณะโทรศัพท์ ขอร้องให้ผู้ป่วยวางเครื่องมือที่จะใข้ในการฆ่าตัวตาย หากผู้ป่วยรับประทานยาเกินขนาด ต้องขออนุญาตผู้ป่วยก่อนทำการช่วยเหลือใดๆ พยายามชักชวนให้ผู้ป่วยทำการปฐมพยาบาลช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้นก่อนทำการช่วยเหลือใดๆ เป็นต้น
กรณีที่มีแผนฆ่าตัวตายแน่นอน ให้ถามอย่างนุ่มนวลยังมีความคิดฆ่าตัวตายอยู่หรือเปล่า กระตุ้นให้ผู้ป่วยระบายความทุกข์ ความกดดัน ความคับข้องใจ อย่างน้อย25-30 นาที เป็นต้น
3.2 ประเมินหาสาเหตุของกาฆ่าตัวตาย
3.1 ประเมินลักษณะปัญหาผู้ต้องการฆ่าตัวตาย
2 กรณีผู้ป่วยไม่ได้อยู่โรงพยาบาล ให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาฆ่าตัวตาย ให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือดูแล หลีกเลี่ยงการให้ยาในปริมาณมาก
1 กรณีผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล ลดความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายโดยดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาทางจิตเวช ร่วมกับการทำจิตสังคม จัดสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกิดความปลอดภัย
ด้านตัวบุคคล: จัดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะชีวิต เพื่อให้บุคคลสามารถจัดการความเครียด รู้จักการปรับตัวในสถานการณ์ตึงเครียด เรียนรู้การสร้าสัมพันธภาพที่ดี รู้จักวิธีจัดการความขัดแย้งและปัญหาชีวิต รู้จักให้และสามารถขอความช่วยเหลือจากแห่งสนับสนุนทางสังคมที่เหมาะสมเมื่อเกิดปัญหาที่คุกคามตนเอง
กิจกรรมการพยาบาล
8. จัดให้เข้ากลุ่มกิจกรรมที่เหมาะสม เพื่อเบี่ยงเบนความคิดทำร้ายตนเอง เช่น กลุ่มออกกำลังกาย กลุ่มนันทนาการ เป็นต้น
7. ประเมินความมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วย กระตุ้นให้ผู้ป่วยพูดถึงตนเองทั้งทางบวกและทางลบ และร่วมค้นหาวิธีเปลี่ยนความคิดทางลบ เพื่อส่งเสริมให้เห็นคุณค่าหรือคิดเกี่ยวกับตนเองในทางบวกมากขึ้น พร้อมค้นหาความสามารถหรือลักษณะเด่นที่ช่วยเสริมสร้างความมีคุณค่าในตนเอง
6. ทำจิตบำบัดรายบุคคล เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจตนเองและปัญหาของตนเองมากขึ้น และเรียนรู้ที่จะแยกแยะสิ่งที่เป็นความจริงกับสิ่งที่ไม่เป็นความจริง
5. เมื่ออาการของผู้ป่วยสงบ ฝึกทักษะการจัดการความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมในทางที่เหมาะสม
4. ดูแลช่วยเหลือให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์ เพื่อควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม พร้อมทั้งสังเกตและจัดการอาการข้างเคียงจากยา
3. ให้คำแนะนำในการจัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย เช่น เก็บวัตถุสิ่งของที่อาจเป็นอันตราย หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นรบกวนผู้ป่วย และไม่ให้ผู้อื่นเข้าใกล้ผู้ป่วย
2. ประเมินความคิด อารมณ์ พฤติกรรมสม่ำเสมอ ยอมรับและเข้าใจพฤติกรรมของผู้ป่วยเมื่อผู้ป่วยบอกถึงอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตน และแสดงความเห็นอกเห็นใจผู้ป่วยด้วยความจริงใจ (empathy)
1. สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยด้วยท่าทางเป็นมิตร เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความรู้สึก เสนอทางเลือกที่เหมาะสมเพื่อให้ผ่อนคลาย ลดพฤติกรรมรุนแรง รวมทั้งให้กำลังใจเมื่อทำได้สำเร็จ
ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับการฆ่าตัวตาย
กรณีนี้เป็นปัจจัยด้านสังคมและจิตใจ จากการที่ผู้ป่วยปรับตัวเข้ากับเพื่อนไม่ได้ ผู้ป่วยจึงมีอาการหดหู่ ท้อแท้ เบื่อหน่าย แยกตัวออกจากเพื่อน หาทางออกไม่ได้จึงทำร้ายตัวเอง ซึ่งการจดจ่อกับตนเองนานๆจะทำให้มีความคิดการทำร้ายตัวเองและไม่อยากมีชีวิตอยู่มากขึ้น และจากการที่ผู้ป่วยอกหักก็ยิ่งทำให้รู้สึกหดหู่ สิ้นหวัง กลับมาบ้านแล้วสัตว์เลี้ยงป่วย เพราะแม่ไม่ชอบ ไม่ช่วยดูแล จึงหาทางออกโดยการตัดสินใจกินยาฆ่าตัวตายเพราะคิดว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุด
โรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของสมองที่มีผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึก สุขภาพ ร่วมกับสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ทำให้เครียด
โรคทางจิตเวช กรณีนี้ผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าซึ่งเป็นโรคที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง
ทฤษฎีที่เกี่ยวของกับสาเหตุของการฆ่าตัวตาย
ทฤษฎีดังกล่าว ใช้อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การฆ่าตัวตายของบุคคลมีความซับซ้อน อาจไม่สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีใดทฤษฎีเดียว
3.ทฤษฎีทางสังคม (Sociological Theories)
3.3 anomic suicide คือการฆ่าตัวตายเนื่องจากบุคคลไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ เกิดจากภาวะวิกฤตต่างๆ ที่มีผลต่อการควบคุมอารมณ์ เช่น อารมณ์โกรธ ไม่สมหวัง เหนื่อยล้า ท้อแท้
3.2 egoistic suicide คือการฆ่าตัวตายที่เกิดจากการขาดความรูสึกผูกพันกับสังคม ไม่สามารถเข้ากับสังคมได้
3.1 altruistic suicide คือการฆ่าตัวตายที่เกิดขึ้นจากบุคคลมีความรู้สึกผูกพันกับสังคมมากเกินไป
2. ทฤษฎีทางจิตใจ (Psychological Theories) ทฤษฎีจิตวิเคราะห์เชื่อว่าการฆ่าตัวตายเกิดจากความขัดแย้งภายในจิตใจระหว่างความต้องการมีชีวิตและความต้องการเสียชีวิต โดยมีความต้องการเสียชีวิตเป็นแรงผลักมากกว่า ความขัดแย้งดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อต้องสูญเสียบุคคลหรือสิ่งของที่ตนรัก การฆ่าตัวตายเป็นพฤติกรรมที่มุ่งเข้าหาตนเองโดยเกิดจากจิตใต้สำนึกที่มีความโกรธต่อสิ่งที่ตนรักและต้องสูญเสียสิ่งนั้นไป
1. ทฤษฎีทางชีวภาพ (Biological Theories) เชื่อว่าโครงสร้างของสารเคมีที่อยู่ในสมองกลุ่ม Serotonin, Dopamine, Norepinephrine, GABA มีความสัมพันธ์กับอารมณ์ โดยเฉพาะ Serotonin ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าและเป็นสาเหตุหลักนำไปสู่พฤติกรรมฆ่าตัวตาย ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มบุคคลที่ฆ่าตัวตายสำเร็จมีระดับ Serotonin ในน้ำไขสันหลังระดับต่ำ
ประเภทของการฆ่าตัวตาย
6. การฆ่าตัวตายลักษณะอื่น ๆ ประกอบด้วยการฆ่าตัวตายที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า (premedients suicide) การฆ่าตัวตายแบบสองจิตสองใจ (ambivalent suicide) การฆ่าตัวตายเมื่อทำร้ายผู้อื่นด้วยวิธีรุนแรง (coercive suicide) การฆ่าตัวตายแบบไม่ตั้งใจ (false suicide) และความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย (suicidal risk)
5. การฆ่าตัวตายสำเร็จ (completed or successful or committed suicides) ผู้กระทำมีความตั้งใจที่จะจบชีวิตของตนเอง และมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ขณะลงมือกระทำ
4. การพยายามฆ่าตัวตาย (suicide attempts) คือการทำร้ายตนเองด้วยวิธีการที่รุนแรงอาจได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยหรือมาก ผู้กระทำมีความตั้งใจที่จะจบชีวิตของตนเอง การแสร้งกระทำการฆ่าตัวตาย การพยายามฆ่าตัวตายที่ไม่ประสบผลสำเร็จ และความรุนแรงการกระทำต่ำเรียกว่า para-suicide behavior
3. การมีท่าทีจะฆ่าตัวตาย (suicide gesture) คือการทำร้ายตนเองโดยผู้กระทำไม่ได้ตั้งใจที่จะจบชีวิตของตนเองแต่กระทำเพื่อให้คนอื่นคิดว่าตนเองจะจบชีวิต
2.การขู่ฆ่าตัวตาย (suicide threats) คือการพูดหรือเขียนตรงไปตรงมาเกี่ยวกับความตั้งใจที่จะฆ่าตัวตายแต่ไม่มีการกระทำ
1.การคิดฆ่าตัวตาย (suicidal ideation) เป็นความคิดที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย อาจแสดงออกทางคำพูด การเขียน แต่ไม่มีความตั้งใจ
ความหมายและความสำคัญ
ความสำคัญ
เนื่องจากปัจจุบันการฆ่าตัวตายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบต่อความสูญเสียทรัพยากรบุคคล ซึ่งจากสถิติการฆ่าตัวตายสำหรับประเทศไทยพบว่าประชากรไทยมีอัตราการฆ่าตัวตายเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สถิติการฆ่าตัวตายระหว่างต้นปี พ.ศ.2555 ถึงกลางปี พ.ศ.2556 พบอัตราการฆ่าตัวตายของประชากรไทยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6.2 รายต่อแสนประชากร อายุเฉลี่ยที้ฆ่าตัวตายอยู่ในช่วงระหว่าง 15-49 ปี ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการบำบัดพยาบาลบุคคลที่ฆ่าตัวตายจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที เพื่อให้สามารถลดความเสี่ยงเเละอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความหมาย
การฆ่าตัวตาย หมายถึง การกระทำที่ทำให้ตนเองเสียชีวิตโดยตั้งใจ บุคคลที่มีพฤติกรรมที่จะทำลายหรือมีพฤติกรรมที่จะทำให้ตนเองเสียชีวิตโดยไม่มีเจตนาจะตายจริงๆไม่ถือว่าเป็นการฆ่าตัวตาย จนกว่าจะได้รับข้อมูลว่าการกระทำนั้นๆเป็นไปเพื่อจบชีวิต