Categories: All - พัฒนา - ทฤษฎี - กระบวนการ

by วัชชิรญา มิระสิงห์ 8 years ago

10695

ทฤษฎีระบบ

แนวคิดทฤษฎีระบบถือเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นถึงความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ภายในระบบ ทฤษฎีนี้มีต้นกำเนิดจากการสังเกตของนักวิทยาศาสตร์ในช่วงปี 1920-1940 ที่พบว่าปรากฏการณ์ในโลกนี้เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบและซับซ้อน Ludwig Von Bertalanffy เป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกทฤษฎีระบบทั่วไป ซึ่งเสนอแนวคิดระบบแบบองค์รวมในปี 1956 นอกจากนี้ ทฤษฎีนี้ยังได้รับการพัฒนาและปรับใช้ในสาขาต่าง ๆ เช่น ฟิสิกส์และ Cybernetic โดยมีผู้เชี่ยวชาญอย่าง Frederic Vester มีส่วนร่วมในการพัฒนาทฤษฎีนี้ แนวคิดนี้ยังส่งผลให้เกิดทฤษฎีใหม่ ๆ เช่น Complexity Theory และ Chaos Theory ซึ่งมีบทบาทสำคัญในสายสังคมศาสตร์ด้วย องค์ประกอบหลักของระบบประกอบด้วยสิ่งที่ป้อนเข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์ ซึ่งในระบบการศึกษา ตัวป้อนเข้าไปได้แก่ นักเรียนและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในขณะที่กระบวนการหมายถึงวิธีการสอนต่าง ๆ

ทฤษฎีระบบ

ทฤษฎีระบบ

แหล่งอ้างอิง

Mint Kwanmaneekul.(2555).ทฤษฎีระบบ สืบค้นเมื่อวันที่ 28/01/2560.จากเว็ปไซต์ http://www.slideshare.net/mintkwanmaneekul/ss-15232360
Managing conflict through communication 2007 Dudley D. Cahn, Ruth Anna Abigail สืบค้นเมื่อวันที่.จากเว็ปไซต์ http://wasita.wikidot.com/kasetsart09-rtcsystems
สถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม.2546. ทฤษฎีกระบวนระบบ (System Thinking). [Online]. Available สืบค้นเมื่อวันที่.จากเว็ปไซต์http://www.thaicivicnet.com/System%20Thinking.htm
มณีรัตน์ สุวรรณวารี.(2555).ทฤษฎีระบบ สืบค้นเมื่อวันที่ 28/01/2560.จากเว็ปไซต์https://www.gotoknow.org/posts/458803
รัฐวัชร์ พัฒนจิระรุจน์.(2557).ทฤษฎีระบบ System Theory สืบค้นเมื่อวันที่ 28/01/2560.จากเว็ปไซต์ http://poundtv5.blogspot.com/2014/10/system-theory.html

สรุป

สรุป : ระบบการปฏิบัติงานขององค์การนั้นจะประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ สิ่งที่ป้องเข้าไป (Input) กระบวน (Process) และผลงาน (Output) โดยแต่ละส่วนจะต้องมีความสัมพันธ์และผสมผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายขององค์การ

ความหมาย

สิ่งต่าง ๆ บนโลกนี้มีลักษณะเป็นระบบ ต้องมีองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันเป็นกระบวนการ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ได้กำหนดไว้ โดยระบบจำแนกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
ระบบเปิด (Open System) เป็น ระบบที่ต้องปฏิสัมพันธ์ กับ สิ่งต่าง ๆ ทั้ง บุคคล องค์การ หรือหน่วยงาน ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง มีการเอื้อประโยชน์ พึ่งพาซึ่งกันและกัน โดยสิ่งแวดล้อมภายนอกมีผลหรือมีอิทธิพลต่อการทำงานขององค์การด้วย ไม่สามารถควบคุม
ระบบปิด (Closed System) เป็นระบบที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ไม่สัมพันธ์กับระบบอื่นใด และแยกตนเองออกจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทางสังคม สามารถควบคุมได้ เช่น การทดลองทางวิทยาศาสตร์จะต้องอยู่ในกระบวนการที่ถูกควบคุม และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงปรับเปลี่ยนได้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สมบูรณ์ถูกต้อง

องค์ประกอบของระบบ

7. สิ่งแวดล้อม (environments)
6. การควบคุม (control)
5. การส่งข้อมูลป้อนกลับ (feedback)
4. ผลลัพธ์ (outputs)
3. กระบวนการ (processes)
2. ปัจจัยนำเข้า (inputs)
1. วัตถุประสงค์ (goals)

การนำไปประยุกต์ใช้

การดำเนินงานใด ๆ ก็ตามเกิดขึ้นอย่างมีระบบ เราจะเห็นถึงความเกี่ยวโยงสัมพันธ์กันอย่างเป็นองค์รวม องค์กรแห่งหนึ่งจัดกิจกรรมการแถลงข่าว เริ่มต้นด้วยการวางแผนงานในด้านต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ การจัดทำแผนงาน, รูปแบบการดำเนินงาน, งบประมาณ , ทีมงาน, พันธมิตร ฯลฯ ในกรอบเวลาที่กำหนด เมื่อเข้าสู้การดำเนินงานปฏิบัติ จนงานเสร็จสิ้นกระบวนการ ต้องประเมินผลการจัดกิจกรรมดังกล่าวมีผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่วางไว้

ประวัติความเป็นมา

โดยในช่วงหลังแนวคิดนี้ได้พัฒนาไปเป็น Complexity Theory และบางส่วนก็พัฒนำปเป็นทฤษฎีไร้ระเบียบหรือ Chaos Theory นั่นเอง ทฤษฎีนี้ได้เข้ามามีบทบาทในการศึกษาทางสายสังคมศาสตรด้วยเช่นกัน อาทิ Claud Levin และทฤษฎีที่ได้รับอิทธิพลโดยตรงจาก System Theory ก็คือแนวพวก Radical Constructivism ที่เชื่อว่าโลกหรือการรับรู้ของเรานั้น เกิดจากสิ่งที่สมองของเราสร้างขึ้นทั้งสิ้น
ผู้ที่เริ่มพูดถึงแนวคิดนี้เป็นคนแรก คือBertalanfy นักชีววิทยา ชาวออสเตรีย ต่อมาแนวคิดนี้เริ่มเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายเมื่อทศวรรษ 1940 และ พัฒนาไปสู่สาขาอื่น ๆเช่น ฟิสิกส์ Cybernetic (เช่นงานของ Frederic Vester)
แนวคิดและทฤษฎีระบบ เริ่มต้นขึ้นเมื่อประมาณ ปี 1920 – 1940 บรรดานักวิทยาศาสตร์ สังเกตุเห็นเหตุการณ์ หรือ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ บนโลกนี้เกิดขึ้นอย่างมีความซับซ้อนเป็นไปในลักษณะเดียวกันคล้ายกัน ซึ่งเรียกว่า ความเป็นระบบ จนกระทั่งเมื่อประมาณ ปี ค.ศ.1930 Ludving Von Bertalanffy ค้นพบ ทฤษฎีระบบทั่วไป (General Systems Theory) และนำเสนอมุมมองระบบแบบองค์รวม ในปี ค.ศ.1956

องค์ประกอบหลัก

ผลงาน (Output) หรือ ผลิตผล (Product) เป็นองค์ประกอบสุดท้ายของระบบ หมายถึง ความสำเร็จในลักษณะต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผล ในระบบการศึกษา ได้แก่ นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในลักษณะต่าง ๆ หรือนักเรียนที่มีความรู้ ความสามารถที่จะดำรงชีวิตในอนาคตได้ตามอัตถภาพ เป็นต้น
กระบวนการ (Process) คือองค์ประกอบต่อมาของระบบ หมายถึง วิธีการ ที่จะนำไปสู่ผลงานหรือผลผลิตของระบบ และในระบบการศึกษาได้แก่ วิธีการสอนต่าง ๆ เป็นต้น
สิ่งที่ป้อนเข้าไป (Input) หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ หรือองค์ประกอบแรกนำไปสู่การดำเนินงานของระบบ โดยรวมไปถึงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่ต้องการของระบบนั้น ๆ ในระบบการศึกษาตัวป้อนเข้าไป ได้แก่ นักเรียน สภาพแวดล้อมของนักเรียน โรงเรียน สมุด ดินสอ และอื่น ๆ เป็นต้น