Categories: All - ทักษะ - แบดมินตัน

by อภิสิทธิ์ แท่นอ่อน 4 years ago

461

การศึกษาประสิทธิภาพของการเล่นแบดมินตันกับการพัฒนาสมองส่วนหน้าในเด็กสมาธิสั้น

การเล่นแบดมินตันสามารถช่วยพัฒนาสมองส่วนหน้าและการประสานงานระหว่างตากับมือของเด็กที่มีสมาธิสั้นได้ การศึกษาในกลุ่มตัวอย่างเด็กที่ได้รับการฝึกเล่นแบดมินตันวันละ 1 ชั่วโมงเป็นเวลา 10 วัน พบว่าเด็กเหล่านี้มีการพัฒนาทักษะการเคลื่อนที่ การมองเห็น และการใช้มือที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน กิจกรรมในการฝึกประกอบด้วยการเรียนรู้กฎกติกา การฝึกตีโต้ การเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการฝึกใช้แบคแฮนด์และโฟร์แฮนด์ในท่าต่างๆ การทดสอบการทำงานของสมองส่วนหน้าโดยใช้ Stroop Test แสดงให้เห็นว่าเด็กมีการตอบสนองที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นการฝึกเล่นแบดมินตันร่วมกับการรักษาทางยาอาจเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการช่วยพัฒนาเด็กที่มีสมาธิสั้น

การศึกษาประสิทธิภาพของการเล่นแบดมินตันกับการพัฒนาสมองส่วนหน้าในเด็กสมาธิสั้น

การศึกษาประสิทธิภาพของการเล่นแบดมินตันกับการพัฒนาสมองส่วนหน้าในเด็กสมาธิสั้น

ประเภทการฝึก

การฝึกเล่นกีฬาแบดมินตัน
กลุ่มตัวอย่างได้รับการฝึกเป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมงต่อวัน ทั้งหมด 10 วัน

วันที่ 10 กิจกรรมประกอบด้วย 1) เรียนรู้กฎกติกาของการเล่นแบดมินตัน 2) ทบทวนรูปแบบการตีในท่าต่างๆ 3)จัดการแข่งขันแบบพบกันหมด

วันที่ 9 กิจกรรมประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะการเคลื่อนที่ในรูปแบบต่างๆ 2) ฝึกตีโต้ 3) จับคู่ตีโต้ข้ามตาข่าย

วันที่ 8 กิจกรรมประกอบด้วย 1) แบบฝึกการเคลื่อนที่การมองเห็น การเคลื่อนไหวในการตีแบดมินตัน

วันที่ 7 กิจกรรมประกอบด้วย 1) แบบฝึกการเคลื่อนที่การมองเห็น การเคลื่อนไหวในการตีแบดมินตัน

วันที่ 6 กิจกรรมประกอบด้วย 1)แบบฝึกทักษะการเคลื่อนที่ในรูปแบบต่างๆ 2) ฝึกการใช้แบคแฮนด์โฟร์แฮนด์ในท่าต่างๆ

วันที่4–5 กิจกรรมประกอบด้วย 1) ฝึกทักษะการจับไม้แบดมินตัน เช่น ฝึกให้ตีแบคแฮนด์ต่างๆหรือโฟร์แฮนด์ต่างๆ 2) แบบฝึกทักษะการมอง การใช้มือ ระบบการรับรู้กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อต่างๆ

วันที่ 3 กิจกรรมประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะการมอง การใช้มือ ระบบการรับรู้กล้ามเนื้อเอ็น ข้อต่อต่างๆ

วันที่ 2 กิจกรรมประกอบด้วย1) แบบฝึกทักษะการเคลื่อนที่ในรูปแบบต่างๆ 2) เรียนรู้วิธีการใช้ไม้แบดมินตัน

วันที่ 1 กิจกรรมประกอบด้วย 1) กิจกรรมแนะนำตัว 2) ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกีฬาแบดมินตันและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นแบดมินตัน 3)แบบฝึกทักษะการใช้อุปกรณ์ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้มือและการมอง

Subการทดสอบการทำงานของสมองส่วนหน้า (stroop test)topic
1. Stroop word พิมพ์คำอ่านด้วยสีคำทั้งหมด 2. Stroop color พิมพ์คำอ่านด้วยสีที่ตรงกัน 3. Stroopcolor–word พิมพ์คำอ่านด้วยสีที่ไม่ตรงกัน 4. บันทึกข้อมูลโดยวัดเวลาจากการอ่านบัตรคำอย่างถูกต้องจำนวน 25 บัตรคำ

เกณฑ์การคัดอาสาสมัครเข้าร่วมศึกษา

1. อายุระหว่าง 7–12 ปี 2. ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมาธิสั้นโดยกุมารแพทย์ 3. ได้รับยาปรับสมาธิสั้นจนอยู่ในระดับที่ควบคุม อาการได้ 4. รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ 5. อ่านหนังสือได้ระดับชั้นอย่างน้อยหรือเทียบ เท่าระดับประถมศึกษาปีที่1(อ่านคำอ่านเกี่ยวกับสีได้) 6. ได้รับการยินยอมในการเข้าร่วมวิจัยจากผู้ปกครอง

อภิปรายผลการศึกษา

การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการฝึกเล่นแบดมินตันช่วยในการพัฒนาการทำงานของสมองส่วนหน้าและeye hand coordination ดังนั้นการรักษาเด็สมาธิสั้นโดยการกินยาและฝึกเล่นแบดมินตันควบคู่กัน น่าจะช่วยทำให้ผลการรักษาดีขึ้นได้

สรุปผลการศึกษา

การเล่นแบดมินตันสามารถช่วยพัฒนาเด็กสมาธิสั้นให้มีการพัฒนาของสมองส่วนหน้าในด้านสมาธิดีขึ้น โดยการประเมิน Stroop test (Stroop word, Stroop color และ Stroopcolor–word) จากทฤษฎีที่ว่าสมองสามารถรับ รู้คำอ่านได้เร็วกว่าการรับรู้สี
เมื่อทำการทดสอบ Stroop color–word การพูดสีให้ถูกต้องในขณะที่คำอ่านเขียนเป็นสีอื่นต้องใช้สมาธิมากขึ้น รวมทั้งต้องผ่านกระบวนการคิดก่อนพูดสีให้ถูกต้อง จึงแสดงให้เห็นว่าเด็กมีสมาธิมากขึ้น

Subtopic

ผลการศึกษา

ค่าเฉลี่ย±ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการทดสอบ Stroop word ก่อนเล่นแบดมินตัน เท่ากับ 17.81+3.03 วินาทีและหลังเล่นแบดมินตัน เท่ากับ 20.84+2.52 วินาที ค่าเฉลี่ย±ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการทดสอบ Stroopcolor– word ก่อนเล่นแบดมินตัน เท่ากับ 17.69+3.25วินาที และหลังเล่นแบดมินตัน เท่ากับ 19.56+3.13 วินาที
ผลการทดสอบ Stroop color ก่อนเล่น แบดมินตัน เท่ากับ 20.28+3.16 วินาทีและหลังเล่น แบดมินตัน เท่ากับ 22.03+2.68 วินาทีค่าเฉลี่ย ±ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

วัตถุประสงค์

1.เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการเล่นกีฬาแบดมินตันกับการพัฒนาสมองส่วนหน้าในเด็กวัยเรียนอายุ7–12 ปีที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสมาธิสั้น ในโรงพยาบาลสมเด็จจังหวัดกาฬสินธุ์จำนวน 32 คน