Categories: All - พฤติกรรม - สังคม

by จินดารัตน์ วิโรพรม 3 years ago

665

โรคพฤติกรรมเกเร (Conduct Disorder: CD)

โรคพฤติกรรมเกเรเป็นปัญหาทางพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตในสังคม การวินิจฉัยโรคนี้ต้องระบุว่าผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่ละเมิดสิทธิผู้อื่นหรือไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน และต้องไม่เข้าข่ายโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคมในกรณีที่ผู้ป่วยมีอายุ 18 ปีขึ้นไป พฤติกรรมอาจรวมถึงการทำร้ายคนหรือสัตว์ การขโมย การฝ่าฝืนกฎระเบียบอย่างรุนแรง และการทำลายทรัพย์สิน การบำบัดรักษาควรมุ่งเน้นการสร้างสัมพันธภาพเพื่อให้เกิดความไว้วางใจ ส่งเสริมความตระหนักรู้ในคุณค่าของตนเองและพฤติกรรมที่เป็นปัญหา การให้คำแนะนำการเลี้ยงดูแก่ผู้ปกครองและครูมีความสำคัญเพื่อการจัดการปัญหาพฤติกรรมต่างๆ ของเด็ก นอกจากนี้ ควรเปิดโอกาสให้เด็กปรับเปลี่ยนพลังความคับข้องใจและความโกรธเป็นพลังสร้างสรรค์ เช่น การเล่นกีฬาและดนตรี การป้องกันโรคพฤติกรรมเกเรเป็นสิ่งสำคัญที่ควรให้ความสำคัญมากกว่าการรักษา

โรคพฤติกรรมเกเร (Conduct Disorder: CD)

โรคพฤติกรรมเกเร (Conduct Disorder: CD)

การวินิจฉัย

C. ถ้าอายุ 18 ปี หรือมากกว่า ต้องไม่เข้าเกณฑ์ของโรคบุคลิกภาพผิดปกติแบบต่อต้านสังคม (Antisocial Personality Disorder)
B. พฤติกรรมที่ผิดปกตินี้สาเหตุของการบกพร่องทางด้านสังคม ด้านการศึกษา หรือการประกอบอาชีพ
A.พฤติกรรมที่ละเมิดสิทธิผู้อื่น หรือไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมอย่างต่อเนื่องโดยทำซ้ำๆ อย่างน้อย 1 ข้อ ที่ทำติดต่อกันไม่น้อยกว่า 6 เดือน
ฝ่าฝืนกฎระเบียบอย่างรุนแรง 13) ออกนอกบ้านกลางคืนบ่อยครั้งแม้ผู้ปกครองจะไม่อนุญาต เริ่มก่อนอายุ 13 ปี 14) หนีออกไปค้างนอกบ้านอย่างน้อย 2 ครั้งในขณะที่อาศัยอยู่กับผู้ปกครอง (หรือครั้งเดียวแต่ไปอยู่ที่อื่นเป็นบางเวลา) 15) หนีโรงเรียนก่อนอายุ 13 ปี
ทำร้ายทรัพย์สิน 8) ตั้งใจวางเพลิง เพื่อให้เกิดความเสียหายรุนแรง 9) ตั้งใจทำลาบทรัพย์สินซึ่งเป็นความตั้งใจอื่นๆ (นอกเหนือจากการวางเพลิง) ฉ้อโกงหรือขโมย 10) งัดแงะบ้าน อาคาร หรือรถของผู้อื่น 11) พูดโกหกบ่อยเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการหรือหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์ 12) ลักขโมยของเล็กๆ น้อยๆ โดยไม่เผชิญหน้ากับเจ้าของ (หยิบของจากร้านแต่ไม่งัดแงะเข้าร้าน)
ก้าวร้าวต่อคนหรือสัตว์ 1) รังแก ข่มขู่ ทำให้ผู้อื่นหวาดกลัว 2) เป็นผู้ที่เริ่มการต่อสู้ 3) ใช้อาวุธในการทำร้ายผู้อื่น (ใช้ไม้ อิฐ เศษแก้วที่แตก มีด ปืน) 4) เคยทำร้ายคน 5) เคยทำร้ายสัตว์ 6) มีการขโมยต่อหน้าเจ้าของ (ปล้นทรัพย์สินในที่สาธารณะ กระชากกระเป๋า ทำร้ายร่างกายเพื่อเอา ทรัพย์ ขู่กรรโชก ใช้อาวุธปล้น) 7) บังคับให้ผู้อื่นมีกิจกรรมทางเพศด้วย

การบำบัดรักษา

การป้องกันได้ผลดีกว่าการรักษา

การบำบัดทางการพยาบาล

5) ส่งเสริมความตระหนักรู้ในคุณค่าของตนเอง
4) เปิดโอกาสให้ปรับเปลี่ยนพลังความคับข้องใจ ความโกรธ เป็นพลังสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดการผ่อนคลาย เช่น เล่นกีฬา และเล่นดนตรี
3) ส่งเสริมความตระหนักรู้ในพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของตนและรับรู้ว่าพฤติกรรมดังกล่าวไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม
2) การให้คำแนะนำการเลี้ยงดูแก่ผู้ปกครองและครูที่โรงเรียนในการจัดการปัญหาพฤติกรรมต่างๆ ของเด็ก
1) การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดเพื่อให้เกิดความไว้วางใจ

อาการ

ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานอย่างน้อย 6 เดือน โดยมีอาการต่อไปนี้ เกิดขึ้นอย่างน้อย 3 อย่าง
1) ลักขโมยปลอมลายมือ 2) หนีออกจากบ้าน 3) พูดโกหก 4) ลอบวางเพลิง 5) หนีโรงเรียน 6) ลอบเข้าไปขโมยของในบ้านคนอื่น 7) ทารุณสัตว์ 8) ข่มขืน 9) ใช้อาวุธในการต่อสู้ 10) ชอบหาเรื่องทะเลาะวิวาท 11) ลักทรัพย์จนถูกจับได้ 12) ทำอันตรายต่อผู้อื่น

หมายถึง ผู้ที่มีความประพฤติฝ่าฝืนกฎระเบียบทางสังคมอย่างรุนแรง แสดงพฤติกรรมต่อต้าน ก้าวร้าว รุนแรงทั้งต่อบุคคล สัตว์ ทรัพย์สิน สิ่งของ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน 12 เดือน อาการดังกล่าวเกิดขึ้นในเด็กก่อน อายุ 18 ปี