Categories: All - information - knowledge

by kewalin samati 5 years ago

299

สังคมความรู้ : Knowledge Society

สังคมความรู้เป็นสังคมที่เน้นการผลิตและจัดการความรู้ โดยมีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการความรู้ในหลายด้าน เช่น การกระจายความรู้ การตีค่าความรู้ การประเมินความรู้ การเข้าถึงความรู้ และการเพิ่มประสิทธิภาพของความรู้ ในยุคที่สองของสังคมความรู้ ทุกภาคส่วนรวมถึงประชาชนมีบทบาทในการร่วมเป็นเจ้าของความรู้ นักวิชาชีพจะทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมโยงความรู้ และมุ่งเน้นการสร้างสรรค์ความรู้ การรวบรวม การถ่ายทอ และการประยุกต์ใช้ความรู้ ความรู้ในสังคมแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก คือ ความรู้ที่ซ่อนอยู่ในบุคคล (

สังคมความรู้  : Knowledge Society

สังคมความรู้ : Knowledge Society

ประเภทของความรู้

2. Explicit Knowledge
ความรู้เด่นชัดหรือความรู้ที่บันทึกไว้ สามารถถ่ายทอดได้ โดยฐานข้อมูลน
1. Tacit Knowledge
ความรู้ที่ซ่อนอยู่ในแต่ละบุคคลเป็นความรู้ ที่ได้จากประสบการ์ เช่น ทักษะการทำงาน หรือจะเรียก ความรู้แบบนามธรรม

ความรู้

ข้อมูล สารสนเทศและความรู้ ทั้ง 3 คำมีความหมาย เกี่ยวข้องกัน บางครั้งไม่สามารถแยกออกจากกันได้
Knowledge ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องบางเรื่อง หรือสิ่งบางสิ่ง ซึ่งอาจรวมไปถึงความสามารถในการนำสิ่งนั้นไปใช้เพื่อเป้าหมายบางประการ

 ความหมายของความรู้(Definition of Knowledge) 

-         Davenport and Prusak (1998 : 5) กล่าวว่า ความรู้ หมายถึง ส่วนผสมที่เกิดจาก ประสบการณ์การทำงาน และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ที่พร้อมจะถูกนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจและการกระทำต่างๆ

-         Haraldsson (2003) กล่าวว่าความรู้ คือ การไหลเวียนของความรู้สึกปฏิกริยาตอบกลับการตัดสินใจ สารสนเทศและกระบวนการเรียนรู้ นอกจากนั้นความรู้ดังกล่าวยังสามารถสูญหายและเกิดการทดแทนขึ้นมาใหม่ได้

-         ภราดร จินดาวงศ์ (2549 : 4) กล่าวว่า ความรู้ คือ สิ่งที่ได้มาโดยการศึกษา ประสบการณ์ ทักษะ การอบรม การดูงาน หรืออาจเกิดจากการค้นหา ค้นคว้า ค้นพบ ได้เห็น ได้ฟังของแต่ละบุคคล เมื่อเวลาผ่านไปความรู้จะเกิดการสะสมเพิ่มพูนมากขึ้น

-          วิศิณ ชูประยูร (2545 : 29) กล่าวว่า ความรู้ หมายถึงข้อเท็จจริงและ/หรือสารสนเทศทั้งใน ด้านวิทยาศาสตร์ หลักการ กฎธรรมชาติ ความช านาญเฉพาะทางและกระบวนการปฏิสัมพันธ์ใน สังคมเพื่อรู้เขารู้เรา อันจะน าไปสู่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ทักษะทางเทคนิค และทักษะทางสังคม

-         พรธิดา วิเชียรปัญญา (2547) กล่าวว่า ความรู้ คือกระบวนการขัดเกลา เลือกใช้ และบูรณา การ การใช้สารสนเทศเหล่านั้นจนเกิดความรู้ใหม่

-         อลาวี และลีเดอร์ (Alavi and Leidner ,2001 : 109) กล่าวว่า ความรู้คือสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็น ว่าเป็นการเพิ่มขีดความสามารถที่จะนำมาซึ่งประสิทธิภาพที่ดีกว่า

-         ชาร์ราชและยูโซโร(Sharratt and Usoro,2003:188) กล่าวว่า ความรู้คือความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องโดยตรงระหว่างความเข้าใจ ตลอดจนการให้ข้อมูลข่าวสารที่ชัด

Information สารสนเทศ ข้อมูล ข่าวสาร ช้อเท็จจริง ความรู้ต่างๆ ที่ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้วและสามารถ นำไปใช้ประโยชน์ได้

สารสนเทศ มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “Information”

ซึ่งมีผู้ได้ให้นิยามไว้ต่างๆ ดังนี้

-         สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ (2553) กล่าวว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่มีคุณค่าและ คุณประโยชน์ ทั้งในเชิงคำนวนและคุณภาพ เช่น ข้อมูลความเป็นจริงในการปฏิบัติงาน เป็นต้น

-         มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2549) กล่าวว่า สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ถูก มนุษย์วิเคราะห์และตีความแล้ว มีคุณค่าสูงกว่าข้อมูล เนื่องจากสามารถสื่อความหมายได้โดยมีความ ครอบคลุมที่กว้างกว่า

-         คณาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (2544) กล่าวว่า สารสนเทศ หรือ สารนิเทศ หมายถึง แก่นหรือเนื้อหาที่สำคัญ ซึ่งได้มีการแจงแสดงออกให้ ทราบ อาจเป็นข้อมูลหรือข้อเท็จจริง ข่าวสาร ความรู้เรื่องราวทั่วไป ความรู้ทางวิชาการหรือศาสตร์ ความรู้สึก ความคิด ประสบการณ์ ซึ่งผ่านการกลั่นกรอง ประมวล เรียบเรียงและจัดเก็บโดยบันทึกสื่อ ชนิดต่างๆ มีหลากหลายรูปแบบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดสารให้ผู้อื่นทราบและใช้ประโยชน์ต่อไป

-         Turban (2006) กล่าวว่า สารสนเทศ คือข้อมูลที่ผ่านการจัดการและตีความหมายแล้วมี คุณค่าต่อผู้รับเพื่อการนำไปใช้งาน เช่น เกรดเฉลี่ยสะสมของนักศึกษา เป็นต้น

-         Orna (1998) กล่าวว่า สารสนเทศ คือ การถ่ายทอดความรู้ของมนุษย์เพื่อการสื่อสารไป ยังบุคคลอื่นทั้งในรูปแบบโสตวัสดุและทัศนวัสดุ สิ่งตีพิมพ์ สุนทรพจน์ หนังสือ บทความ รายงานการ ประชุม หรือฐานข้อมูล

Data ข้อมูล กลุ่มชองสัญลักษณ์ ข้อเท็จจริง ตัวเลข ข้อความ ภาพ และเสียง ที่ยังไม่ผ่านกระบวนการประมวลผล

ความหมายของข้อมูลเพิ่มเติม

ลักษณะสังคมแห่งการเรียนรู้

ทุกคนเป็นครูและนักเรียน
ความรับผิดชอบ
สถานศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
ริเริ่ม/เปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา
มีเครือข่ายร่วมดำเนินการ
มีการพัฒนานวัตกรรมและระบบการเรียนรู้
มีกลุ่มภาคประชาชนเป็นกลาง
สถาบันทางสังคมในพื้นที่เป็นตัวหลักในการริเริ่ม
ประชาชนได้รับโอกาสการพัฒนา
เน้นการจัดการเรียนรู้เป็นปัจจัยหลัก
ไม่จำกัดขนาดและสถานที่ตั้ง

กระบวนการจัดการความรู้

การเรียนรู้
การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
การเข้าถึงความรู้
การประมวล กลั่นกรองความรู้
การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
การสร้างหรือแสวงหาความรู้
การบ่งชี้ความรู้ ทำอย่างไรให้บรรลุเป้าหมาย

ยุคของสังคมความรู้

ยุคที่ 2
เป็นสังคมความรู้แบบพอเพียง สมดุล ประชาชนและทุกภาคส่วนมีบทบาท ในการร่วมเป็นเจ้าของ แต่นักวิชาชีพ จะมีบทบาทเป็น Knowledge Broker และมีลักษณะสำคัญของยุคที่ 2 ดังนี้

Applied Knowledge การประยุกต์

Knowledge Creation การสร้างสรรค์ความรู้

Knowledge Transfer การถ่ายทอความรู้

Collect Knowledge การรวบรวมความรู้

ยุคที่ 1
กเกิดการผลิต มี ความสามารถในการแข่งขัน ในยุคนี้นักวิชาการหรือนักวิชาชีพ จะมีบทบาทหลัก ในการจัดการความรู้ มีความเป็นมืออาชีพการจัดการหรือพัฒนาความรู้ ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะมีความสามารถ 5 ด้านดังนี้

Knowledge Dissemination การกระจายความรู้

Knowledge Optimization การเพิ่มประสิทธิภาพ

Knowledge Valuation การตีค่าความรู้

Knowledge Validation การประเมินความรู้

Knowledge Access การเข้าถึงความรู้

Definition นิยาม

สังคมที่มีการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายสารสนเทศสูง จากความรู้ที่มีบุคลากรทำงานโดยใช้ทักษะและความรู้สูง