Categories: All - ทฤษฎี - นักศึกษา - วิเคราะห์ - การวิจัย

by Tanyalak Sopon 4 years ago

345

ศึกษาลักษณะเม็ดเลือดของมนุษย์ตามทฤษฎีกับตัวอย่างเม็ดเลือด จากห้องแลปเทคนิคการแพทย์ มหา�

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบลักษณะของเม็ดเลือดมนุษย์ตามทฤษฎีกับตัวอย่างเม็ดเลือดที่ได้จากห้องแลปเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมีสมมติฐานว่าลักษณะของเม็ดเลือดในตัวอย่างจะตรงตามทฤษฎี การวิจัยนี้เป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากการตรวจร่างกายจากสิ่งส่งตรวจต่างๆ เช่น เลือด สามารถใช้ในการตรวจหาโรคได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแยกชนิดของโรคจากลักษณะของเม็ดเลือด เพื่อให้การวิเคราะห์แม่นยำ นักศึกษาเทคนิคการแพทย์ต้องมีความเข้าใจในความแตกต่างของเม็ดเลือดแต่ละชนิด กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้คือนักศึกษาเทคนิคการแพทย์ชั้นปีที่ 2 ที่ศึกษาในรายวิชาโลหิตวิทยา 1 ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 20 คน การวิจัยนี้ดำเนินการในภาคการศึกษาที่ 3/

ศึกษาลักษณะเม็ดเลือดของมนุษย์ตามทฤษฎีกับตัวอย่างเม็ดเลือด
จากห้องแลปเทคนิคการแพทย์ มหา�

ศึกษาลักษณะเม็ดเลือดของมนุษย์ตามทฤษฎีกับตัวอย่างเม็ดเลือด จากห้องแลปเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ระเบียบวิธีวิจัย

1. วิธีวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง 2. แหล่งข้อมูล : ข้อมูลปฐมภูมิ จากการสํารวจ การสังเกต และการรวบรบม และศึกษาข้อมูล ในห้องปฏิบัติการเทคินคการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลียลักษณ์ ข้อมูลทุติยภูมิ จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่างๆ จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 3.วิธีการสุ่มตัวอย่าง : โดยการคัดเลือกนักศึกษาเทคนิคการแพทย์ ชั้นปีที่ 2 ที่อาษาเต็มใจ ให้ความร่วมมือกับงานวิจัย 4.เก็บข้อมูลจาก : ห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ 6 มหาวิทยาลันวลัยลักษณ์ 5 วิธีการเก็บข้อมูล : จะใช้วิธีการส่งแบบสอบถามทาง Google form แบบสอบถามการสังเกตข้อมูลตามทฤษฏฎีและห้องปฏิบัติการทาง Google form การประชุมสรุปข้อมูล หลังการสังเกต ในห้องปฏิบัติการ 6. การประมวลผลข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล : การวิเคราะห์ข้อมูลโดย Inferential ststistics และ ทดสอบโดยการใช้ Shapiro Wink Test/Anderson Dering test และทดสอบค่าความแปรปรวน โดยใช้ Leven's test เพื่อให้สามารถตอบคําถามของการวิจัยที่ต้องการได้

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

4.ทราบการศึกษาลักษณะของเม็ดเลือด จากตัวอย่างเม็ดเลือดจากห้องแลปเทคนิกการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อการนำไปวิเคราะห์ในตรวจหาเม็ดเลือดจากผู้ป่วย
3.ทราบถึงการเปรียบเทียบลักษณะของ เม็ดเลือดในห้องปฏิบัติการ (ห้องแลป)
2.ทราบถึงการวิเคราะห์เชื่อมโยงความเกี่ยวข้องระหว่างเม็ดเลือดแต่ละชนิดตามทฤษฎี
1.ทราบถึงลักษณะต่างๆของเม็ดเลือด ตามทฤษฎี

นิยามคำศัพท์

Leukocytic series (เซลล์สายเม็ดเลือดขาว)
หมายถึง เซลล์ทุกระยะในร่างกายของมนุษย์ที่พัฒนามาจากเซลล์เม็ดเลือดตั้งต้น และพัฒนาเป็นเม็ดเลือดขาว
Cytoplasm characteristic (ลักษณะไซโทพลาสซึม)
หมายถึง การติดสีของไซโทพลาสซึม การพบแกรนูล หรือการย้อมไม่ติดสี
Erythrocytic series (เซลล์สายเม็ดเลือดแดง)
หมายถึง เซลล์ทุกระยะในร่างกายของมนุษย์ที่พัฒนามาจากเซลล์เม็ดเลือดตั้งต้น และพัฒนาเป็นเม็ดเลือดแดงตัวเต็มวัย

ขอบเขตของการวิจัย

ระยะเวลา
การศึกษาครั้งนี้กระทำในภาคการศึกษาที่ 3/2563เป็นเวลา 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 6 ชั่วโมง
ประชากร
-ไม่จำกัดเพศ และอายุ -เป็นนักศึกษาเทคนิคการแพทย์ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ที่ได้ศึกษาในรายวิชา โลหิตวิทยา1 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักศึกษาเทคนิคการแพทย์ชั้นปีที่ 2 ในปีการศึกษา 2563 ที่ศึกษาในรายวิชาโลหิตวิทยา 1 จำนวน 20 คน

สมมติฐาน

ตัวอย่างเม็ดเลือดจากห้องแลปเทคนิค การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีลักษณะตรงตามลักษณะเม็ดเลือดของมนุษย์ตามทฤษฎี

ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างงานวิจัย 2
Wimonsiri Chanatrirattanapan(2560) ได้ศึกษาเรื่องความถูกต้องของดัชนีค่าเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน ที่มีนิวเคลียส นิวโทรฟิล ลิมโฟไซท์ และโมโนไซท์ ที่ได้จากเครื่องตรวจนับเม็ดเลือดอัตโนมัติเปรียบเทียบกับ การย้อมสีแล้วนับด้วยกล้องจุลทรรศน์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลผลการตรวจจากเครื่องตรวจนับเม็ดเลือดอัตโนมัติ เปรียบเทียบกับการย้อมสีแล้วนับดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์ วิเคราะห์ความแตกต่าง ผลการศึกษา พบว่า เมื่อทดสอบความสอดคล้องด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พบว่าจำนวน NRBC และ monocyte มีความสอดคล้องของการตรวจทั้งสองวิธีในระดับพอใช้และแย่ ในขณะที่ neutrophil และ lymphocyte มีความสอดคล้องของการตรวจทั้งสองวิธีในระดับดีมาก และดี เมื่อใช้เกณฑ์ที่ความคลาดเคลื่อนไม่เกินร้อยละ 10 มาสร้างกราฟ ได้ผลสอดคล้องของการตรวจทั้งสองวิธีของ NRBC ที่ช่วง 50-170 เซลล์ต่อเม็ดเลือดขาว 100 ตัว และ monocyte ได้ผลสอดคล้องของการตรวจทั้งสองวิธี ที่ 0-10 เซลล์ ส่วน neutrophil และ lymphocyte ได้ผลสอดคล้องของการตรวจทั้งสองวิธีทุกคู่
ตัวอย่างงานวิจัย 1
ประสิทธิ์ ชนะรัตน์(2534)คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ศึกษาเรื่องการควบคุมคุณภาพภายในของการตรวจสอบแผ่นเสมียร์เลือด การวิจัยครังนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ศึกษาเกี่ยวกับกับ การตรวจสอบสเมียร์เลือด เพื่อให้ได้การตรวจ ที่ถูกต้องขึ้นอยู่กับคุณภาพของการเก็บตัวอย่างเลือด การทำเสมียร์เลือด การย้อมสี ทิศทาง การนับ การนับแยกเม็ดเลือดการกำหนดเกณฑ์การอ่านเม็ดเลือดที่ถูกต้อง ข้อควรคำนึง ในการควบคุมคุณภาพของการตรวจสอบเสมียร์ ผลการศึกษา พบว่า การทำ internal quality control ของการตรวจ blood smear นี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการเก็บเลือด การไถเสมียร์ การย้อมสี ฯลฯ ให้ถูกต้อง เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาด
จากการศึกษา ลักษณะเม็ดเลือดของมนุษย์ตามทฤษฎี กับ ตัวอย่างเม็ดเลือดจากห้องแลปเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นั้น คณะผู้วิจัยได้ค้นคว้าเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

คำถามของการวิจัย

มีความเกี่ยวข้อง รวมไปถึงมีความสำพันธ์ กันอย่างไร ตามทฤษฎี กับ ตัวอย่างเม็ดเลือดจากห้องแลปเทคนิกการแพทย์
เม็ดเลือดแต่ละชนิดมีรูปร่างลักษณะความต่างกันอย่างไร

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

4.เพื่อการศึกษาลักษณะของเม็ดเลือด จากตัวอย่างเม็ดเลือดจากห้องแลป เทคนิกการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
3.เพื่อเปรียบเทียบลักษณะของเม็ดเลือด ในห้องปฏิบัตการ (ห้องแลป)
2.เพื่อการวิเคราะห์เชื่อมโยงความเกี่ยวข้องระหว่างเม็ดเลือดแต่ละชนิด ตามทฤษฎี
1.เพื่อการศึกษาลักษณะต่างๆของเม็ดเลือด ตามทฤษฎี

ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย

เนื่องจากปัจจุบันมีการตรวจร่างกายจากสิ่งส่งตรวจต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการตรวจหาการเป็นโรค ในที่นี้คือ เลือด ที่สามารถ แบ่งชนิดของโรคจากการตรวจรูปร่าง และลักษณะของ เม็ดเลือด ดังนั้น เพื่อความแม่นยำในการเปรียบเทียบ ลักษณะเม็ดเลือด ของมนุษย์ ตามทฤษฎี และ ตัวอย่างเม็ดเลือดจากห้องแลปเทคนิกการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่นักศึกษาเทคนิคการแพทย์ มีความจำเป็นที่จะต้องทราบความแตกต่าง ของเม็ดเลือดแต่ละชนิด เพื่อประโยชน์ในการศึกษา และการรักษาผู้ป่วยในวิชาชีพต่อไป