Categories: All

by DVA Z 6 years ago

1136

knowledge Society

การแข่งขันบาสเกตบอลแบ่งเป็น 4 ควอเตอร์ แต่ละควอเตอร์มีเวลาที่แตกต่างกันระหว่างการแข่งขันสากลและเอ็นบีเอ ทีมประกอบด้วยผู้เล่น 5 คนในสนามและตัวสำรอง 7 คน ซึ่งสามารถเปลี่ยนตัวได้เมื่อเกมหยุด โค้ชมีบทบาทสำคัญในการวางกลยุทธ์และดูแลทีม การแข่งขันมีการหยุดเวลาเพื่อการปรึกษาของโค้ชและผู้เล่น กติกาหลักรวมถึงการห้ามผู้เล่นถือลูกบอลวิ่ง การส่งบอลและเลี้ยงบอลสามารถทำได้ทั้งมือเดียวและสองมือ ห้ามใช้ร่างกายเพื่อครอบครองบอล การกระแทก, ดึง, ผลัก หรือกระทำการใดๆให้ฝ่ายตรงข้ามล้มลงถือเป็นการฟาวล์ ถ้าเกิดการฟาวล์ครบ 2 ครั้งจะหมดสิทธิ์เล่นจนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำประตูได้ กรรมการและหัวหน้ากรรมการมีหน้าที่ควบคุมเกมและดูแลความเป็นธรรม

knowledge Society

บาสเกตบอล

ตำแหน่งผูู้เล่น

ชู้ตติ้งการ์ด (SG) : ชู้ตระยะไกลได้ดี และ สามารถทำคะแนนใกล้แป้นได้อีกด้วย
พอยต์การ์ด (PG) : ดูแลการบุกของทีมโดยควบคุมลูกและส่งลูก ไปยังผู้เล่นที่เหมาะสมในเวลาที่ เหมาะสม และ เป็นคนนำลูกไปยังฝ่ายตรงข้ามเมื่อเวลาบุก
สมอฟอร์เวิร์ด (SF) : เป็นคนทำแต้มให้ทีม หรือ บางทีอาจจะได้เป็นคนรับผิดชอบการส่งบาสด้วย
พาวเวอร์ฟอร์เวิร์ด (PF) : จะเล่นคล้ายกับเซนเตอร์ เวลาบุกจะหันหลังให้แป้น และเมื่อเล่นเกมรับ แบบแมน ทู แมน จะยื้นใต้ห่วง
เซ็นเตอร์ (C) : มักเป็นผู้เล่นตัวสูงที่สุดในทีมและให้ดีต้องมีกล้ามเป็นมัดๆและมีน้ำหนักตัวมากอีกด้วยใช้ความได้เปรียบของร่างกายทำแต้ม หรือ ป้องกัน บริเวณใต้ห่วง

ประวัติ(ในประเทศไทย)

ประเทศไทยเริ่มเล่นกีฬาบาสเกตบอลกันตั้งแต่เมื่อใด สมัยใด ยังไม่มีหลักฐานยืนยันอย่างแน่ชัด แต่เท่าที่ค้นคว้าและมีหลักฐานยืนยันว่าในปี พ.ศ. 2477 นายนพคุณพงษ์สุวรรณ อาจารย์สอนภาษาจีนได้แปลกติกา การเล่นบาสเกตบอลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก พ.ศ 2477 กรมพลศึกษาได้จัดการแข่งขันกีฬา บาสเกตบอลระดับนักเรียนขึ้นเป็นครั้งแรก สมัยที่ น.อ หลวงศุภชลาศัย ร.น ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมพลศึกษา พ.ศ 2495 ได้มีการจัดการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอลระหว่างนักเรียนหญิง และการแข่งขันระหว่างประชาชนทั่วๆไป พ.ศ. 2496 ได้มีการจัดตั้งสมาคมบาสเกตบอลแห่งประเทศไทย และได้เป็นสมาชิก สมาคมบาสเกตบอลระหว่างประเทศตั้งแต่ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 ปัจจุบันกีฬาบาสเกตบอลถูกบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนแทบ ทุกระดับการศึกษาคือตั้งแต่ระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา นอกจากนี้ยังมี การแข่งขัน อยู่ตลอดเวลาองค์กรสำคัญที่ส่งเสริมและจัดการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล ในประเทศไทย ได้แก่สมาคมบาเกตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ กรมพลศึกษา กรุงเทพมหานคร การกีฬาแห่งประเทศไทย ทบวงมหาวิทยาลัย (กีฬามหาวิททยาลัย) กองทัพ (กีฬาเหล่าทัพ) กองทัพอากาศ (กีฬานักเรียน) สถาบันการศึกษาทั่วไป

ประวัติ(ต่างประเทศ)

กีฬาบาสเกตบอลเป็นกีฬาประเภททีม มีผู้เล่นฝ่ายละ 5 คน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำลูกบาสเกตบอลไปโยนลงห่วงประตูของฝ่ายตรงกันข้ามให้ได้มากที่สุด โดยมีทักษะการเล่น ได้แก่ การส่ง – รับลูกการเลี้ยงลูกและการยิงประตู กีฬาบาสเกตบอลมีกำเนิดขึ้น เป็นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเริ่มจากดร. เจมส์ เอ เนสมิท (JamesA.Naismith) ได้คิดขึ้นเพื่อเล่นในโรงพลศึกษาของโรงเรียนฝึกอบรม ของสมาคมวายเอ็มซีเอนานาชาติ(International Young Men’s Christian Association Training School)ที่เมือง สปริงฟีลด์ มลรัฐแมสซาซูเซตส์ ในช่วงที่มีหิมะตก เมื่อ ค.ศ. 1891 (พ.ศ. 2434)โดยใช้ตะกร้าลูกพีช ๒ ใบแขวนเป็นประตู จึงทำให้กีฬานี้ได้ชื่อว่าบาสเกตบอล (Basketball)การเล่นครั้งนั้นใช้ ลูกฟุตบอลเป็นลูกบอล มีผู้เล่นทั้งหมด 18 คน แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายฝ่ายละ 9 คน มี กฎการเล่น 4 ข้อ คือ 1. ห้ามถือลูกเคลื่อนที่ 2. ห้ามมิให้ผู้เล่นปะทะตัวกัน 3. ประตูอยู่ระดับศีรษะและขนานพื้น 4. ผู้เล่นจะถือลูกบอลนานเท่าใดก็ได้ และผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะต้องไม่ถูกตัวผู้เล่น

ประโยชน์

ด้านสังคม
3. ทำให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น อันจะก่อให้เกิดการสร้างวินัยที่ดีในการออกกำลังกายทั้งของตนเองและสังคม
2. มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมดีขึ้น เกิดมิตรภาพระหว่างเพื่อนภายในทีมและต่างทีม
1. ทำให้เกิดมีความรักความสามัคคีของหมู่คณะ
ด้านจิตใจและอารมณ์
5. กฎ กติกาการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอลย่อมสอนให้ผู้เล่นรู้จักคามยุติธรรม สร้างนิสัย ในตนเอง ตลอดจนคุณธรรมจริยธรรมต่อผู้เล่นด้วยกันเสมอ
4. มีสติและปัญญา รู้จักวางแผนการรุก การป้องกัน คิดหาวิธีการที่จะเล่นให้ประสบผลสำเร็จกับคู่แข่งขัน ซึ่งก่อให้เกิดความเฉลียวฉลาดและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
3. มีความสนุกสนานต่อการเล่น อันก่อให้เกิดอารมณ์ที่แจ่มใส ร่าเริง ไม่เคียด สามารถปรับปรุงตนเองและทีให้ดีขึ้น
2. มีความอดทนอดกลั้นสูงขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากการฝึกซ้อม อันจะก่อให้เกิดสมาธิ สติ และอารมณ์มั่นคงไม่หวั่นไหวง่าย
1. ความมีน้ำใจในนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย จะบังเกิดขึ้นกับผู้เล่นกีฬา
ประโยชน์ทางด้านร่างกาย
4. มีความคล่องตัวร่างกายมีความสัมพันธ์กันดี เช่น สายตา กล้ามเนื้อแขนขา รักษาความสมดุลของร่างกายได้ดี
3. ช่วยรักษารูปร่างให้ได้สัดส่วนสง่างามเหมาะสมได้
2. มีสมรรถภาพทางกายสูงขึ้น สามารถทำงานหนักโดยไม่ได้รับการบาดเจ็บ
1. ทำให้ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพที่ดี

กฎ กติกา เบื้องต้น

เกมการบาสเกตบอลจะแบ่ง 4 ควอเตอร์ (quarter) ซึ่งแต่ละควอเตอร์นั้นจะมี 10 นาที (สากล) หรือมีเพียง 12 นาที (เอ็นบีเอ) พักครึ่ง 15 นาที ส่วนพักอื่นๆอีก 2 นาที ช่วงต่อเวลา (overtime) นาน 5 นาทีทีมแต่ละทีมจะเริ่มสลับฝั่งช่วงครึ่งหลัง เวลาจะนับเฉพาะขณะที่เล่น และนาฬิกาจะหยุดนับเวลาเมื่อหยุดเกม ดังนั้น เวลาในการแข่งขันจึงยาวนานมาก (ประมาณสองชั่วโมง) ในที่เริ่มเกมส์จะมีผู้เล่นในสนามฝ่ายละห้าคน และและจะมีตัวสำรองทีมละ 7 คน ซึ่งสามารถเปลี่ยนตัวผู่เล่นได้ไม่จำกัด การเปลี่ยนนั้นจะเปลี่ยนได้เฉพาะเมื่อเกมหยุดเท่านั้น ทีมยังคงมีโค้ชผู้ซึ่งคอยดูแลทีมและเป็นผู้วางกลยุทธ์ในการเล่น รวมถึงผู้ช่วยโค้, ผู้จัดการทีม, นักสถิติ, แพทย์และเทรนเนอร์ เครื่องแบบมาตรฐานของผู้เล่น ชาย-หญิงได้แก่ กางเกงขาสั้น เสื้อกล้ามที่มีหมายเลขผู้เล่นชัดเจนพิมพ์ทั้งด้านหน้า-หลัง รองเท้า จะเป็นรองเท้ากีฬาหุ้มข้อเท้า ซึ่งอาจมีชื่อทีม, ชื่อนักกีฬา หรือสปอนเซอร์ พิมพ์อยู่บนชุดด้วย แต่ละทีม จะได้เวลานอกเพื่อให้โค้ชและผู้เล่นได้ปรึกษาหาลือกัน ซึ่งเวลาที่ใช้มักไม่เกินหนึ่งนาที เกมจะถูกควบคุมโดยกรรมการและหัวหน้ากรรมการผู้ตัดสินในสนาม และกรรมการโต๊ะ (หน้าของกรรมการโต๊ะ : บันทึกคะแนน, ควบคุมเวลา, บันทึกจำนวนการฟาล์วผู้เล่น-การฟาล์วทีม ดูแลเรื่องการเปลี่ยนตัว โพเซสซันแอร์โรว์ ช็อตคล็อก)
1. ห้ามผู้เล่นถือลูกบอลวิ่ง 2. ผู้เล่นจะส่งบอลไปทิศทางใหนก็ได้ จะใช้มือเดียว-สองมือก็ได้ 3. ผู้เล่นจะเลี้ยงบอลไปทิศทางใหนก็ได้ จะใช้มือเดียว-สองมือก็ได้ 4. ผู้เล่นต้องใช้มือทั้งสองข้างครอบครองบอล และห้ามใช้ร่างกายช่วยในการครอบครองบอล 5. ในการเล่นห้ามใช้ไหล่กระแทก ห้ามใช้มือดึง ห้ามผลัก ห้ามตี หรือห้ามกระทำการใดๆให้ฝ่ายตรงข้ามล้มลง ถ้าผู้เล่นยังฝ่าฝืนถือเป็นการฟาวล์ 1 ครั้ง ถ้า ฟาวล์ครบ 2 ครั้ง ถือว่าหมดสิทธิ์เล่น จนกว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสามารถทำประตูได้จึงกลับมาเล่นได้อีกครั้ง หากเกิดการบาดเจ็บในการแข่งขัน จะไม่มีการเปลี่ยนผู้เล่น 6. ห้ามใช้ขา-เท้าแตะลูก ถ้าฝ่าฝืนถือเป็นการฟาวล์ 1 ครั้ง 7. ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำฟาวล์ติดกัน 3 ครั้ง ให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ประตู 8. ประตูที่สามารถทำได้หรือนับว่าได้ประตู จะต้องเป็นการโยนบอลให้ลงในตะกร้า ฝ่ายป้องกันจะไปยุ่งกับประตูไม่ได้โดยเด็ดขาด 9. เมื่อถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำลูกออกนอกสนาม อีกฝ่ายหนึ่งต้องส่งลูกเข้ามาในสนามจากขอบสนามภายใน 5 วินาที หากเกิน 5 วินาที ให้เปลี่ยนส่ง และหากผู้เล่นฝ่ายใดก็ตามพยายามถ่วงเวลาให้ปรับเป็นฟาวล์ 10. ผู้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินว่าผู้เล่นคนใดทำฟาวล์ และมีหน้าที่ลงโทษให้ผู้เล่นหมดสิทธิ์การเล่น 11. ผู้ตัดสินมีหน้าที่ตัดสินว่าลูกใดที่ออกนอกสนาม และฝ่ายใดควรเป็นฝ่ายส่งลูกเข้าสนาม และทำหน้าที่เป็นผู้รักษาเวลา,บันทึกจำนวนประตูที่ทำได้ และทำหน้าที่โดยทั่วไปตามวิสัยผู้ตัดสิน 12. การเล่นนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง ครึ่งละ 20 นาที 13. ฝ่ายที่ทำประตูได้มากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ แต่ในกรณีที่คะแนนเท่ากันให้ทำการต่อเวลาออกไปอีก ฝ่ายใดทำประตูได้ก่อนจะถือว่าเป็นฝ่ายชนะ

นาย ภวัต ดาราสูรย์ 61120812