ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อใน
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์(ระบบ TCAS) ในรอบPortfolio ปีการศ�
การศึกษาเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาสังคมให้มีคุณภาพและคุณธรรม การวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ผ่านระบบ TCAS รอบ Portfolio ในปีการศึกษา 2563 นักศึกษาใหม่ที่เข้ามาศึกษาในสาขาเทคนิคการแพทย์จำนวน 194 คน ถูกศึกษาเพื่อให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการตัดสินใจและความเหมาะสมของเกณฑ์การคัดเลือก การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เปลี่ยนรูปแบบการสอบสัมภาษณ์เป็นออนไลน์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักศึกษา การวิจัยยังสำรวจถึงความสมเหตุสมผลและความเพียงพอของเกณฑ์การคัดเลือกในระบบ TCAS รอบ Portfolio ในการรองรับความต้องการของนักศึกษา การศึกษาเหล่านี้มีความสำคัญในการพัฒนาการศึกษาและสร้างสังคมที่มีคุณภาพ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อใน
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์(ระบบ TCAS) ในรอบPortfolio ปีการศึกษา 2563
ขอบเขตการวิจัย
ขอบเขตเนื้อหา
เนื้อหาของการ ศึกษางานวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาในด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS (Thai University CentralAdministration System )รอบที่1 Portfolio ในสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์ ปีการศึกษา2563
ขอบเขตประชากร
กลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่ให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ของนักศึกษาผ่านระบบ TCAS (Thai University Central Administration System )รอบที่1 Portfolio ในสำนักวิชาสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์ ปีการศึกษา 2563 จำนวนทั้งสิ้น 194 คน โดยมีเทคนิคการแพทย์แผนการเรียนปกติ จำนวน 162 คน และเทคนิคการแพทย์แผนการเรียนทวิภาษา จำนวน 32 คน โดยมีนักศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกในรอบ Portfolio แผนการเรียนปกติจำนวน 104 คน และแผนการเรียนทวิภาษาจำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น 109 คน
การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย
การตัดสินใจ หมายถึง กระบวนการเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง จากหลาย ๆ ทางเลือก ที่ได้พิจารณา หรือประเมินอย่างดีแล้วว่า เป็นทางที่ทำให้องค์การบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย
ปริญญาตรี หรือ ปริญญาบัณฑิต เป็นระดับการศึกษาย่อยในการอุดมศึกษา ต่อเนื่องจากชั้นมัธยมศึกษา คำว่า ตรี หมายถึง ชั้นที่สาม
การรับสมัครนักศึกษา หมายถึง กระบวนการรับสมัครนักศึกษาประกอบด้วย 2 ขั้นตอน การกำหนดแผนการรับสมัครนักศึกษาและการรับนักศึกษา
การรับนักศึกษา หมายถึง การรับสมัครนักศึกษาและการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา
Portfolio หมายถึง สิ่งที่รวบรวมตัวอย่าง หรือบางส่วนของหลักฐานที่แสดงถึง ผลสัมฤทธิ์ความสามารถ ความพยายาม หรือความถนัดของบุคคลหรือประเด็นที่ต้องจัดทำแฟ้มสะสมงานไว้ อย่างเป็นระบบ โดยบุคคลนั้น และบุคคลที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจัดทำแฟ้มร่วมกัน
TCAS หมายถึง ระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยรูปแบบใหม่ ซึ่งย่อมาจาก Thai UniversityCentral Admission System ไม่ใช่ระบบเอ็นทรานซ์(entrance) แต่เป็นการรวมวิธีการรับนักศึกษาทั้ง 5 รูปแบบมาไว้ด้วยกัน ประกอบด้วย 1. การรับด้วยแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) 2.การรับแบบโควตาที่มีการสอบปฏิบัติและข้อเขียน 3.การรับตรงร่วมกัน 4.การรับแบบ Admission 5.การรับตรงแบบอิสระ
ประโยชน์ที่คิดว่าจะได้รับจากการวิจัย
ได้รับข้อมูลแนวทางที่จะสามารถนำไปปรับปรุงและแก้ไขเกณฑ์ในการคัดเลือกเข้าสู่ระบบการศึกษาผ่านระบบTCAS รอบที่ 1(Portfolio) เนื่องจากได้รับข้อมูลเชิงลึกของอัตรานักศึกษา ผ่านระบบTCAS รอบ1 (Portfolio)ปีการศึกษา2563 ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในปีการศึกษาต่อไป
ทำให้ทราบถึงแนวโน้มและความต้องการที่จะศึกษาต่อในปีการศึกษา2564 ในระบบ TCASรอบที่1(Portfolio)ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ทำให้ทราบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ของนักศึกษา ผ่านระบบ TCAS รอบที่1(Portfolio) ปีการศึกษา2563
ระเบียบวิธีวิจัย
ในการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ ใช้การศึกษาวิจัย 2 รูปแบบ ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Quantia research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitive research) เป็นแนวทางศึกษาวิจัยโดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษา
ค้นคว้าจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัย ในประเด็นเรื่อง “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าการศึกษาในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ผ่านระบบ TCAS) ในรอบPortfolio ปีการศึกษา 2563” ซึ่งผู้วิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
สมมติฐาน
ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในระบบ TCAS รอบ Portfolio ประจำปี
การศึกษา 2563 โดยส่วนใหญ่ เนื่องจากรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นควบคู่ระหว่างทฤษฎีและปฏิบัติ
(Active Learning) ของมหาวิทยาลัย
ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ประวัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
แนวคิดเกี่ยวกับหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
แนวคิดเกี่ยวกับสถานที่ตั้ง
แนวคิดเกี่ยวกับภาพลักษณ์
ปัจจัยเกี่ยวกับการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษา
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการตัดสินใจ
คำถาม
สามารถรองรับและเพียงพอต่อความต้องการที่จะเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาตามอัตราการแข่งขันในปีการศึกษา 2563 ในระบบ TCAS รอบที่1 (Portfolio) ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์หรือไม
เกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกในระบบ TCAS รอบที่1 (Portfolio) ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ปีการศึกษา 2563 มีความสมเหตุสมผลต่อคุณภาพในการตัดสินใจเลือกของนักศึกษาที่เข้ามาศึกษาต่อหรือไม
สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด 19 ในช่วงที่มีการสอบสัมภาษณ์การคัดเลือกในระบบTCAS รอบที่1 (Portfolio) ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปีการศึกษา 2563 ทำให้ต้องมีการสอบสัมภาษณ์ออนไลน์ เป็นปัจจัยที่มีผลในการเข้าศึกษาต่อหรือไม่
วัตถุประสงค์
เพื่อรวบรวมข้อมูลในเชิงลึกของอัตรานักศึกษา ผ่านระบบ TCAS รอบที่1 (Portfolio)ปีการศึกษา 2563 ที่จะสามารถนำไปปรับปรุงและแก้ไขเกณฑ์ในการคัดเลือกเข้าสู่ระบบการศึกษา ผ่านระบบTCAS รอบที่ 1 (Portfolio) ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในปีการศึกษาถัดไป
เพื่อศึกษาถึงแนวโน้มและความต้องการที่จะศึกษาต่อในปีการศึกษา2563 ของระบบ TCASรอบที่ 1 (Portfolio) ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ของนักศึกษา ผ่านระบบ TCAS รอบที่ 1 (Portfolio) ปีการศึกษา2563
ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย
การศึกษาเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาสังคมให้คนซึ่งเป็นสมาชิกของสังคมเป็นคนมีคุณภาพ คุณธรรม กล่าวคือการศึกษาช่วยสร้างจิตสำนึกในการเป็นมนุษย์มีจิตวิญญาณของผู้มีอารยะธรรมทางปัญญาและความงดงามทางจิตใจการศึกษาสร้างคนให้มีความรู้ในการดำรงชีวิตการประกอบอาชีพมีความอดทนในการต่อสู้กับอุปสรรคของชีวิตดังนั้นการศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทุกวัยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมีการเรียนการสอนครบทุกสาขาวิชาในระดับปริญญาตรีทั้งหมด 44 หลักสูตรในรูปแบบการเรียนการสอน 3 เทอมต่อปีการศึกษารวมถึงมีอาจารย์ได้รับการรับรองมาตรฐานวิซาชีพการสอนที่มีคุณภาพของประเทศอังกฤษหรือ The UK Professional Standards Framework (UKIPSF) และได้ปรับปรุงเป็นห้องเรียนอัจฉริยะ smart classroarn 71 ห้องปฏิบัติการห้องทดลองเป็น digital lab นับเป็นว่าตลอดระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมามหาลัยวลัยลักษณ์มีการพัฒนาการและเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งมีการเปิดการเรียนการสอนครอบคลุมทั้งด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและด้านมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์เพื่อเป็นการแข่งขันกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศอยู่ตลอดเวลาจำเป็นต้องหากลยุทธ์เพื่อดึงดูดให้นักเรียนตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ซึ่งทางมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีการจัดกิจกรรมต่างๆและการประชาสัมพันธ์เช่นการเข้าร่วมโครงการการเชิญชวนเข้าร่วมค่ายต่างๆการจัดกิจกรรมแนะแนวสัญจรหรือการแนะน่าผ่านทางเว็ปไซต์และอีกหลายช่องทางที่ได้จัดขึ้นมาเพื่อเป็นการแนะน่าเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์แก่นักเรียนให้มีความสนใจในการที่จะตัดสินใจเข้าศึกษาต่อมากยิ่งขึ้น