Categories: All - ความปลอดภัย - สาเหตุ - การวิเคราะห์

by Al NooN 3 years ago

292

ใบความรู้หน่วยที่ 5/6

การตรวจสอบความปลอดภัยเป็นกระบวนการสำคัญในการป้องกันอุบัติเหตุในสถานที่ทำงาน โดยเน้นการวิเคราะห์และหาวิธีการแก้ไขปัญหาจากสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย การตรวจสอบนี้แบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น การตรวจเป็นระยะ การตรวจทั่วไป และการตรวจพิเศษ การวางแผนการตรวจจะพิจารณาจากข้อมูลอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น รวมถึงจำนวนและชนิดของอุบัติเหตุ การประเมินอันตรายและการควบคุมเป็นขั้นตอนสำคัญในการตรวจสอบ โดยจะมีการให้คำแนะนำและบันทึกข้อมูลเพื่อแจ้งผู้เกี่ยวข้อง ผู้ที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบความปลอดภัย ได้แก่ ผู้บริหารโรงงาน หัวหน้าหน่วยงาน วิศวกร และพนักงานทั่วไป เทคนิคในการสอบสวนอุบัติเหตุประกอบด้วยการไปยังสถานที่เกิดเหตุทันที การสอบถามและฟังข้อมูลจากผู้เห็นเหตุการณ์ และการปรึกษากับผู้เกี่ยวข้องเพื่อติดตามผลการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ เพื่อให้การป้องกันอุบัติเหตุมีประสิทธิภาพสูงสุด การประชาสัมพันธ์ข้อมูลความปลอดภัยก็เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

ใบความรู้หน่วยที่ 5/6

ใบความรู้หน่วยที่ 5/6

Unit 5 Principles and guidelines for organizing safety promotion activities หลักการและแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย

เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากถึงแม้ว่าองค์กรนั้นจะมีการออกแบบด้านความปลอดภัยเป็นอย่างดี หรือผู้ปฏิบัติงานได้รับการฝึกอบรมอย่างทั่วถึง หรือขั้นตอนปฏิบัติงาน จะปลอดภัยและได้บังคับใช้อย่างต่อเนื่องก็ตาม การส่งเสริมที่มีประสิทธิภาพมีความสำคัญยิ่ง เพราะการป้องกันอุบัติเหตุขึ้นอยู่กับการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานด้วยความปลอดภัย ผู้ปฏิบัติงานต้องอาศัยความคิดของตัวเอง และต้องรักษาระเบียบวินัย เพื่อป้องกันตัวผู้ปฏิบัติงานเอง พฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงานสามารถถูกกระตุ้น หรือบังคับให้เกิดได้ด้วยการส่งเสริมความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ เป็นกิจกรรมหนึ่งของสถานประกอบการ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อการรณรงค์ส่งเสริมความปลอดภัยแก่ลูกจ้างอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและแผนการดำเนินงานของสถานประกอบการนั้น ๆ จากที่ศึกษาเพิ่มเติมนอกเหนือจาก17หัวข้อในใบงาน แบ่งเป็น5หัวข้อดังนี้

30.Other safety activities กิจกรรมด้านความปลอดภัยด้านอื่น ๆ

เป็นกิจกรรมที่เจ้าหน้าที่ด้านปลอดภัยในการทำงาน ต้องดำเนินการให้มีในสถานประกอบการเพื่อให้มีการดำเนินงานด้านความปลอดภัยอย่างเป็นระบบ 

ตัวอย่าง การจัดทำนโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน , การจัดทำคู่มือความปลอดภัยในการทำงาน, กล่องรับความคิดเห็นด้านความปลอดภัย (Safety Suggestion) 

29. Off-work safety activities กิจกรรมความปลอดภัยนอกงาน

เป็นการดูแลสุขภาพอนามัย ความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานนอกเหนือจากการทำงานในสถานประกอบการ

 ตัวอย่าง 1. การดูแลความปลอดภัยรถรับส่งพนักงาน

 2. กิจกรรมเมาไม่ขับ ตรวจวัดแอลกอฮอล์

 3. กิจกรรมขับขี่ปลอดภัย เป็นต้น

28. Emergency Preparedness Activities กิจกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับรับเหตุฉุกเฉิน

เหตุฉุกเฉิน คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสภาพการปฏิบัติงานที่ไม่ปกติ หรือนอกเหนือจากกระบวนการผลิตทั่วไป เมื่อเกิดแล้วมีผลกระทบรุนแรงต่อทรัพย์สิน สภาพแวดล้อม และบุคคลากร รวมทั้งไม่สามารถควบคุมเหตุการณ์ได้ทันที ต้องอาศัยการควบคุมจากหน่วยงานภายใน และภายนอกสถานประกอบการ เหตุฉุกเฉินในสถานประกอบการต้องดำเนินการป้องกันอย่างเป็นระบบ และต้องมีการซ้อมแผนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

ตัวอย่าง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ , การป้องกันและระงับเหตุการณ์สารเคมีรั่วไหล เป็นต้น

27. Training การฝึกอบรม

เป็นการพัฒนาบุคลากรในสถานประกอบให้การมีความรู้ ด้านชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนทัศนคติ และ การปฏิบัติงาน ด้านความปลอดภัยที่ถูกต้อง สามารถทำได้ในรูปแบบ On the job training และ Out the job training ตัวอย่าง การอบรม 5 ส เพื่อความปลอดภัย, การอบรมความปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องจักร,  การอบรมพนักงานใหม่ตามคู่มือความปลอดภัย

26. ประกวดความคิด
25. แถลงนโยบาย
24. การพบปะรายบุคคล
23. ชมเชยพนักงานที่ไม่เคยป่วยในงาน
22.Health checks and fitness tests การตรวจสุขภาพและการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย

การตรวจสุขภาพของแต่สถานประกอบการ จะมีรายการตรวจแตกต่างกันไป แต่โดยพื้นฐานทั่วไปมักตรวจอยู่ที่ประมาณ 7 รายการ ซึ่งเป็นการตรวจหาปัจจัยเสี่ยงพื้นฐานสำคัญที่มักใช้ประกอบการพิจารณาหลังจากสัมภาษณ์งาน หรือสัมภาษณ์ผ่านแล้ว ได้แก่ ตรวจเอกซเรย์ปอด ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจหาหมู่เลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ ตรวจวัดสายตาด้วยคอมพิวเตอร์ ตรวจตาบอดสี เป็นต้น

21. เลี้ยงสังสรรค์ฉลองความสำเร็จด้านความปลอดภัย
20. การประกวดพนักงานดีเด่นด้านความปลอดภัยประจำปี
19. การประกวดพนักงานตัวอย่าง
18. การประกวดพนักงานสวมเครื่องป้องกัน
17. การทัศนศึกษาในสถานประกอบการอื่น

การทัศนะศึกษาในสถานประกอบการอื่นเพื่อให้ลูกจ้างได้มีโอกาสไปพบการทํางานในสถานประกอบการที่ดีเด่น เพื่อนำมาปรับปรุงสภาพการทำงานของตนให้ดีขึ้น โดยขอความร่วมมือสถานประกอบการดีเด่นที่ได้รับรางวัล หรือสถานประกอบการที่ดำเนินการด้านความปลอดภัยที่เป็นตัวอย่างที่ดี เพื่อขอเข้าเยี่ยมชม


16. การเผยแพร่บทความในวารสาร

สถานประกอบการที่ได้จัดทำวารสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ แจกจ่ายแก่ลูกจ้างหรือลูกค้าสามารถนำบทความเกี่ยวกับความปลอดภัยไปตีพิมพ์ในวารสาร เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัยได้มากยิ่งขึ้น


15. การกระจายเสียงบทความ

สถานประกอบการบางแห่งมีการประชาสัมพันธ์ โดยการส่งเสียงตามสายภายในบริเวณโรงงานหรือโรงอาหาร คณะกรรมการความปลอดภัยฯ นำบทความเกี่ยวกับความปลอดภัยออกเสียงตามสาย เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้แก่ลูกจ้าง รวมทั้งมาตรการแก้ไขสภาพการทำงานจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจริงในบริเวณโรงงานด้วย

14. การตอบปัญหาชิงรางวัล

สถานประกอบการอาจจัดให้มีการตอบปัญหาชิงรางวัลในช่วงงานสัปดาห์ความปลอดภัยของสถานประกอบการ วิธีการตอบปัญหาจากภาพนิทรรศการ หรือเอกสารที่แจกในงาน หาจุดอันตรายจากภาพเหตุการณ์จริง และมอบรางวัลโดยคณะกรรมการจัดงาน

13. การทำแผ่นป้ายแสดงสถิติอุบัติเหตุหรือป้ายประกาศ

สถานประกอบการสามารถจัดทำแผ่นป้ายขนาดใหญ่แสดงสถิติอุบัติเหตุ หรือป้ายประกาศกิจกรรมด้านความปลอดภัยปิดไว้หน้าโรงงานในตำแหน่งที่เห็นได้ชัด บางแห่งอาจเขียนไว้ข้างฝาด้านหน้าของโรงงาน เพื่อให้คนงานมีจิตสำนึกให้ความร่วมมือในการลดสถิติของอุบัติเหตุ


12. การรณรงค์ลดอุบัติเหตุเป็นศูนย์ด้วย KYT

การจัดกิจกรรมรณรงค์ความปลอดภัยเพื่อเชิญชวนให้ทุกคนร่วมกันปฏิบัติตามนโยบายของหน่วยงาน สถานประกอบการสามารถดำเนินการโดยใช้เทคนิค KYT ด้วยวิธีการฝึกอบรมลูกจ้างให้หยั่งรู้อันตรายที่จะเกิด และให้มีการย้ำเตือนตนเอง เพื่อให้สามารถลดอุบัติเหตุให้เป็นศูนย์  

11. การรณรงค์ด้วยโปสเตอร์และสัญลักษณ์ความปลอดภัย

โปสเตอร์และสัญลักษณ์ความปลอดภัยเป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการเตือนให้ระวังและสามารถสร้างจิตสำนึกของคนงานให้เกิดความตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น โปสเตอร์ต่าง ๆ


10. การรณรงค์กิจกรรม 5ส

สถานประกอบการต้องประกาศเป็นนโยบายและต้องกระทำโดยลูกจ้างทุกคน ทุกระดับโดยมีผู้บริหารระดับสูงลงมาตรวจตราเป็นระยะ ๆ เพื่อกระตุ้นเตือนให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญและปฏิบัติกิจกรรม 5ส (สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ และสร้างนิสัย) อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ


9. การรณรงค์การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

เมื่อสถานประกอบการได้จัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยที่เหมาะสมให้ลูกจ้างสวมใส่แล้ว ควรจัดการรณรงค์ให้ลูกจ้างใช้ เนื่องจากสถานประกอบการส่วนใหญ่จะประสบปัญหาลูกจ้างไม่นิยมใช้ ทำให้เกิดการสูญเปล่า การรณรงค์จะดำเนินการในช่วงใดช่วงหนึ่ง มีการประกวด แข่งขัน ให้รางวัลแก่ลูกจ้างที่ส่วมใส่ถูกต้องและครบถ้วน


8. การจัดฉายวีดีโอความปลอดภัย

การจัดฉายวิดีโอความปลอดภัย เป็นกิจกรรมที่จัดไปพร้อมกับนิทรรศการในวันหรือสัปดาห์ ความปลอดภัย โดยขอยืมวิดีโอความปลอดภัยจากสถาบันความปลอดภัยในการทํางานหรือศูนย์ความ ปลอดภัย นําไปฉายให้เจ้าหน้าที่ได้ดู เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจ ความรู้สึกที่ดีต่อผู้ปฏิบัติหน้าที่จะทําให้การทํางานด้านความปลอดภัยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

7. การประกวดความสะอาด

เป็นกิจกรรมที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากลูกจ้างทุกคนในแต่ละแผนก และเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดกิจกรรม 5ส เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน การประกวดความสะอาดจะเป็นกิจกรรมที่ง่าย และก่อให้เกิดสุขภาพอนามัยที่ดีของลูกจ้างและผู้บริหาร อันนำไปสู่ความปลอดภัยในการทำงาน


6. การประกวดการรายงานสภาพงานที่ไม่ปลอดภัย

เป็นกิจกรรมเพื่อให้พนักงานได้สำรวจสภาพการทำงาน ค้นหาจุดที่ไม่ปลอดภัย ดำเนินการถ่ายภาพ บันทึกจากจุดอันตรายจากขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ เสนอภาพและรายงานข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาคัดเลือก สามารถนำมาปรับปรุงแก้ไขสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย


5. การประกวดภาพโปสเตอร์

เป็นกิจกรรมเพื่อให้ลูกจ้างของสถานประกอบการมีส่วนร่วมในการผลิตสื่อ ประชาสัมพันธ์ในการกระตุ้นจิตสำนึกด้านความปลอดภัย ส่วนกติกาของการประกวดสถานประกอบการสามารถกำหนดได้เอง 

4. การประกวดคำขวัญความปลอดภัย

เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้พนักงานทุกระดับได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์ โดยการพัฒนาจิตสำนึก และทัศนคติของพนักงานในรูปข้อความ หรือคำขวัญที่เป็นการเตือนให้เกิดความระมัดระวัง หรือเสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงาน สถานประกอบการสามารถจัดการประกวดเอง ส่วนกติกาการประกวดอาจกำหนดขึ้นเอง

3. การสนทนาความปลอดภัย

เป็นกิจกรรมที่สถานประกอบการจัดในรูปแบบการประชุม การพูดคุย หรือการอภิปรายเกี่ยวกับความปลอดภัย มีการสนทนา เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เสนอแนะ แลกเปลี่ยนความรู้ด้านความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงาน หรือโดยนำผู้ชำนาญการเฉพาะเรื่องมาร่วมสนทนาพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้มีการซักถามทำให้เกิดแนวคิดสร้างสรรค์ และได้ข้อสรุปนำไปดำเนินการต่อไป

ตัวอย่าง ประชุมงานความปลอดภัยประจำสัปดาห์ , การประชุม Safety Talk หรือ Morning Talk เป็นต้น


2. การบรรยายพิเศษ

เช่น เชิญวิทยากรมาให้ความรู้แก่บุคลากรในหน่วยงานอันเป็นการปลูก จิตสํานึกให้ปฏิบัติตามกฎแห่งความปลอดภัย     

1. การจัดนิทรรศการ

เช่น นําภาพอุบัติเหตุ สถิติการเกิดอันตราย รวมถึงภาพเหตุการณ์จริงมาจัดแสดงในวันสําคัญ เพื่อให้ลูกจ้างเกิดความตระหนักและมีจิตสํานึกในการทํางานอย่างปลอดภัย

Unit 6 หลักการและวิธีการตรวจสอบความปลอดภัย

การรายงานอุบัติเหตุ

การรายงานจะกระทำโดยผ่านใบรายงานที่มีรายละเอียดบ่งชี้

การกระทำที่ไม่ปลอดภัย สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย

การจัดระบบขจัด, การป้องกันอุบัติเหตุ เช่น ระบบ JSA , KYT เพราะในแบบรายงานจะเสนอแนะวิธีการที่เป็นไปได้มาด้วย

ในรายงานจะมีความประเมินความเสียหายจากประสบเหตุ ทำให้องค์กรทราบได้ว่า ต้นเหตุจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นคิดเป็นกี่ส่วน

ลักษณะการรายงานอุบัติเหตุ

  1. จัดระเบียบ วิธีการบันทึก และสอบสวนอย่างมีระบบ
  2. มีแบบฟอร์มการบันทึก และวิธีการใช้แบบฟอร์ม
  3. ให้มีการรายงานอุบัติเหตุทุกรายไม่ว่าจะทำให้เกิดความเสียหายหรือบาดเจ็บ หรือไม่ก็ตาม
  4. ดำเนินการสอบสวนอุบัติเหตุทุกครั้ง
  5. จัดส่งรายงานอุบัติเหตุทำให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการทุกระดับได้ทราบ
  6. นำรายงานอุบัติเหตุ และมาตรการแก้ไขเข้าสู่การประชุมระดับคณะกรรมการความปลอดภัยโรงงาน

ข้อมูลที่ควรจะได้จากการสอบสวนอุบัติเหตุ


เทคนิคในการสอบสวนอุบัติเหตุ

เทคนิคทั่วไป

  1. ไป : สถานที่เกิดในทันทีที่ได้รับการแจ้ง
  2. พูด : สอบถามผู้ที่เห็นเหตุการณ์ และพยานผู้ที่เห็นเหตุการณ์
  3. ฟัง : ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์สนทนา หรือวิจารณ์
  4. ส่งเสริม : ผู้ที่เห็นเหตุการณ์ออกความคิดเห็น
  5. ศึกษา : สาเหตุอุบัติเหตุ
  6. ประชุม : ปรึกษาผู้ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการแก้ไข
  7. เขียน : รายงานอุบัติเหตุ/บันทึกอุบัติเหตุ
  8. ติดตามผล : ยืนยันการแก้ไขปัญหา
  9. ประชาสัมพันธ์ : เพื่อผลการป้องกันอุบัติเหตุ

เทคนิคในการสัมภาษณ์

  1. ใครคือผู้บาดเจ็บ (บุคคล)
  2. อุบัติเหตุเกิดขึ้นที่ใด ( สถานที่ ,แผนก)
  3. อุบัติเหตุเกิดขึ้นเมื่อไร (เวลา
  4. ทำไม จึงเกิดอุบัติเหตุขึ้น (ลำดับเหตุการณ์)
  5. จะสามารถป้องกันอุบัติเหตุคล้าย ๆ กัน มิให้เกิดขึ้นอีก (วิธีป้องกัน)

การสอบสวนอุบัติเหตุ

ลักษณะอุบัติที่มีการทำการสอบสวน

  1. อุบัติเหตุที่ทำให้เกิดบาดเจ็บถึงขั้นพิการ หรือตาย
  2. อุบัติเหตุที่มีการบาดเจ็บเล็กน้อย เช่น ลื่นหกล้ม
  3. อุบัติเหตุที่อุปกรณ์เครื่องจักร วัตถุดิบ หรือทรัพยากรบุคคล

เช่น ลื่นล้มชนเก้าอื่นไปชนกระจกแตก

4.อุบัติที่เกือบจะเกิดการบาดเจ็บ เช่น ลื่นไม่ล้ม และไม่มีการบาดเจ็บที่อวัยวะส่วนสำคัญ

การเสนอแนะ
การจัดทำรายงาน

รายงานการตรวจควรมีลักษณะดังนี้.-

รายการการตรวจมี 3 ประเภทคือ

  1. รายงานฉุกเฉิน : มีการสั่งการให้แก้ไขทันที
  2. รายงานปกติ : รายงานการตรวจสภาพไม่พึงประสงค์
  3. รายงานเป็นระยะ : สรุปการดำเนินกิจกรรมความปลอดภัย

ผลการดำเนินงานเป็นระยะ (ช่วง ๆ ) พร้อมแนบรายงานปกติไว้ด้วย


ขั้นตอนการตรวจ
3. การบันทึสภาพการปฎิบัติงานทันที (ไม่ควรจำมานั่ง เขียน)
2. ดำเนินการตรวจโดยการใช้แบบตรวจ
  1. การตรวจตาม Flow ของวัสดุ
  2. การตรวจตาม Flow ของผลิตภัณฑ์
  3. การตรวจแบบสวน Flow ของวัสดุ


1. แจ้งหัวแผนก : เดินตรวจไปพร้อมกัน

เพื่อขอความร่วมมือ , การตรวจพบทำได้ง่ายขึ้น


กระบวนการตรวจ

-แบบตรวจ : จะระบุหัวข้อที่ต้องการตรวจ โดยแต่ละแห่งจะพัฒนาขึ้นเอง

-แบบรายงานการตรวจ : เป็นแบบที่ใช้รายงานขั้นสุดท้าย

-บัตรวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย : เป็นบัตรรายงานวิเคราะห์งานโดยละเอียด ที่เจาะจงสาเหตุการเกิดได้

ใครมีหน้าที่ตรวจความปลอดภัย
  1. ผู้บริหารโรงงาน หรือ ผู้บริหารบริษัท
  2. ผู้บังคับบัญชาระดับต้น หรือหัวหน้าหน่วยงาน

หัวหน้าหน่วยจะตรวจความปลอดภัยใน 3 ลักษณะคือ

- การตรวจอย่างต่อเนื่อง

- การตรวจทั่วไป

- การตรวจเป็นระยะ

3. วิศวกร และงานซ่อมบำรุง

4. พนักงาน

5. คณะกรรมการความปลอดภัย

6. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย

วิธีการตรวจสอบความปลอดภัย
4. การตรวจเยี่ยม(Safety tour)

การตรวจแบบเยี่ยมเยียนหน่วยงานต่าง ๆ กระตุ้นความร่วมมือ และรับทราบปัญหาข้อขัดข้อง  

3. การวิเคราะห์วิจัย

การวิจัยเชิงลึก เช่น เสียงดัง

2. การสุ่มตัวอย่าง

การเลือกสำรวจจุดที่สงสัย เช่น การฟุ้งกระจายของสารเคมี หรือการหาประสิทธิภาพเครื่องป้องกัน

1. สำรวจ

ทำตามแบบตรวจ หรืออาจใช้เครื่องมือบางอย่าง

แผนการตรวจและแบบตรวจ
2. ประเภทของการตรวจ
  1. การตรวจเป็นระยะ (Periodic Inspection) เช่น ลิฟท์ เครน ไฟฟ้า เครื่องดับเพิลง เป็นต้น
  2. การตรวจที่ไม่ได้กำหนเวลาที่แน่นอน (Intermittent Inspection)
  3. การตรวจอย่างต่อเนื่อง (Regular Inspection)
  4. การตรวจพิเศษ (Special Inepection)


1. การวางแผนการตรวจ
  1. จะตรวจที่ไหน จะตรวจดูอะไร
  2. ตรวจการวิเคราะห์จากอุบัติเหตุทั้งหมดที่มี
  3. จำนวนอุบัติเหตุ, แผนก, ชนิด
  4. สาเหตุของอุบัติเหตุ


การจัดลำดับสิ่งที่สำคัญของสิ่งที่จะทำการตรวจสอบ
  1. โอกาสการเกิดอุบัติเหตุอันตราย

2. ระยะเวลาที่พนักงานสัมผัสต่อสิ่งที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ

3. ความร้ายแรง หรือผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

4. ความยากง่ายในการตรวจหาสาเหตุ

5. เวลาและค่าใช้จ่าย

6. ความผิดพลาดของบุคคล

7. การเห็นคุณค่าหรือประโยชน์

หลักการตรวจความปลอดภัย
3. ควบคุมเป็น

เป็นการให้คำแนะนำ แก้ไข บันทึก แจ้งผู้เกี่ยวข้อง (เครื่องจักร, เครื่องมือ, เครื่องป้องกันอันตราย, สภาพการทำงาน)    

2. ประเมินได้

ต้องประเมินว่าสิ่งที่เห็นเป็นอันตรายจริงหรือไม่  ต้องการแก้ไขหรือไม่

1. รู้อันตราย

สิ่งที่พบเห็นเป็นการกระทำที่ไม่ปลอดภัย หรือสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย

การตรวจสอบความปลอดภัย

เป็นวิธีการป้องกันอุบัติเหตุ โดยการเข้าไปตรวจค้นหาสาเหตุของอุบัติเหตุจากสภาพการทำงานและวิธีการทำงานที่ไม่ปลอดภัย แล้วหาวิธีการป้องกันแก้ไข