การสืบค้นสารสนเทศและความรู้
รายละเอียดและตวัอยา่งการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ปรากฎในภาคผนวก ก2
การสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต
เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ต
เทคนิคอื่นๆ
เทคนิคการใช้รหัสกำกับคำค้น
สืบค้นโดยใช้เขตข้อมูลกำกับลงในประโยคการค้น
สืบค้นจากเมนูทางเลือก (Drop down menu)
เทคนิคการใช้คำใกล้เคียง
BEFORE หมายถึงให้คำค้นอยู่ห่างกันในระยะ 25 คำโดยต้องอยู่ตามลำดับที่
กำหนดเท่านั้น
FAR หมายถึง ให้คำค้นอยู่ห่างกันได้ 25 คำหรือมากกว่านั้น
NEAR หมายถึง ให้คำที่ค้นอยู่ใกล้เคียงกันในระยะ 25 คำสลับที่ได้
ADJ หมายถึง ให้คำที่ค้นอยู่ใกล้กัน สลับลำดับคำได้
เทคนิคการตัดคำสามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ
การสืบค้นในลักษณะของ Stemming หมายถึง การสืบค้นจากรากคำ
การใช้เครื่อง กลไกส่วนใหญ่ใช้เครื่องหมาย * (asterisk) แทนการตัดคำส่วน
ใหญ่เป็นการตัดท้ายคำค้นที่ต้องการ
เทคนิคตรรกบูลลีน แบ่งได้ออกเป็น 3 ลักษณะคือ
การใช้เครื่องหมาย + (Plus) หรือ – (Minus)
การใช้เทคนิคตรรกบูลลีนจากเมนูทางเลือก (Drop down menu)
การใช้ And, Or, Not ประกอบเป็นประโยคการค้น
องค์ประกอบของกลไกการสืบค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต (Search Engine)
โปรแกรมค้นข้อมูล (Search Engine Software หรือ Query Processor)
ตัวดรรชนี (Indexer) หรือ Catalog
ตัวสำรวจหรือรวบรวมข้อมูล (Spider หรือ Crawler หรือ Robot)
การสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูลบรรณานุกรมออนไลน์
ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นด้วย OPAC
ข้อมูลดรรชนีวารสาร (Periodical Index)
ข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic description)
วิธีการสืบค้นโดยใช้ทางเลือกต่างๆใน OPAC
หากต้องการได้รายละเอียดที่สมบูรณ์ของรายการใด ให้คลิกเม้าส์ที่
รายการที่ต้องการระบบจะแสดงรายละเอียดที่สมบูรณ์ของรายการ
นั้นๆ หากเป็นหนังสือหรือโสตทัศนวัสดุรายละเอียดที่ได้ประกอบด้วย
เลขเรียกหนังสือ สถานที่ที่มีทรัพยากรสารสนเทศนั้น รายละเอียดทาง
บรรณานุกรม สถานภาพของหนังสือว่ามีกี่เล่ม มีอยู่ที่ใด อยู่บนชั้นหรือ
มีผู้ยืมไป ถ้ามีผู้ยืมจะบอกวันที่ก าหนดส่งคืน (date due) หากเป็น
บทความวารสาร ระบบจะแสดงผลการสืบค้นเป็นรายการย่อ ซึ่ง
ประกอบด้วยชื่อบทความ ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ และปีพิมพ์ของ
วารสารที่ตีพิมพ์บทความนั้น รวมทั้งบอกด้วยว่าห้องสมุดมีวารสารนั้น
ตั้งแต่ปีใดถึงปีใด
หากต้องการได้รายละเอียดโดยย่อของรายการใด ให้คลิกเม้าส์ที่
รายการที่ต้องการ ระบบจะแสดงรายละเอียดของรายการดังกล่าว ซึ่ง
จะประกอบไปด้วยชื่อเรื่อง ชื่อผู้รับผิดชอบ และปีพิมพ์
ป้อนข้อมูลที่ต้องการสืบค้นตามรายการที่ใช้เป็นทางเลือก เช่น เลือก
ทางเลือกผู้แต่ง พิมพ์ชื่อผู้แต่ง เลือกทางเลือกคำสำคัญ พิมพ์คำสำคัญ
ที่ต้องการสืบค้น เป็นต้น ลงในช่องสี่เหลี่ยม แล้วคลิกเม้าส์ที่คำว่า
ค้นหา หรือ สืบค้น ระบบจะทำการสืบค้น และแสดงผลการสืบค้นบน
หน้าจอ พร้อมทั้งบอกจำนวนรายการที่ค้นได้
จากหน้าจอรายการหลักของ OPAC ให้เลือกรายการที่ต้องการจะใช้
เป็นทางเลือกในสืบค้นจากเมนู เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หัวเรื่อง เป็นต้น
นอกจากนี้ควรเลือกให้ถูกต้องด้วยว่าต้องการสืบค้นหนังสือ
โสตทัศนวัสดุหรือบทความในวารสารตามช่องที่กำหนด
สรุป
การสืบค้นสารสนเทศจากฐานข้อมูล OPAC ฐานข้อมูลออนไลน์และบนอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นความสามารถของแต่ละบุคคล ซึ่งความสามารถดังกล่าวประกอบไปด้วยทักษะ และเทคนิคของการสืบค้น ซึ่งผู้สืบค้นแต่ละคนจะมีมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับการฝึกฝนและพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ผู้สืบค้นควรมีทักษะของการคัดเลือกและการประเมินสารสนเทศที่ได้รับจาก
อินเทอร์เน็ตร่วมด้วย ขณะเดียวกันผู้สืบค้นก็ต้องรู้จักวิธีการที่คัดเลือกและประเมินสารสนเทศที่ค้นได้ในแต่ละครั้งด้วย เพื่อที่จะได้น าสารสนเทศที่มีคุณค่า ถูกต้อง และตรงกับความต้องการของตนเองไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม
รายละเอียดการสืบค้น OPAC ปรากฎในภาคผนวก ก1
การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์
เลือกรายการที่ตรงกับความต้องการและบันทึกผลข้อมูล
แสดงผลการสืบค้น
การแสดงผลแบบอิสระแสดงผลที่กำหนดเขตข้อมูลในการแสดงผลด้วย
ตัวเอง
การแสดงผลแบบย่อ แสดงผลเฉพาะรายการทางบรรณานุกรมเท่านั้น
การแสดงผลแบบเต็มรูปแบบ แสดงผลทุกเขตข้อมูลที่รายการนั้นมีอยู่
ลงมือสืบค้น
เลือกค้นจากฐานข้อมูลที่เหมาะสม
วิเคราะห์เรื่องที่ต้องการสืบค้นและกำหนดความสำคัญเพื่อใช้ในการค้น
ฐานข้อมูลทดลองใช้ฐานข้อมูลลักษณะนี้เป็นฐานข้อมูลที่ห้องสมุดหรือศูนย์
สารสนเทศน ามาทดลองให้บริการกับผู้ใช้ก่อน ก่อนที่ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศจะตัดสินใจซื้อหรือสมัครเป็นสมาชิกของฐานข้อมูลนั้นจริงๆ ทั้งนี้ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศอาจจะพิจารณาบอกรับเป็นสมาชิกโดยตรวจสอบจากการใช้บริการของผู้ใช้ว่ามีมากน้อยเพียงใด คุ้มหรือไม่หากต้องนำมาบริการจริงๆ ตัวอย่างฐานข้อมูลทดลองใช้ในศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ณ ปี พ.ศ. 2552 เช่น Oxford Journals (OUP), Medical Online,Oxford Scholarship Online เป็นต้น
ฐานข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ ฐานข้อมูล ThaiLIS (Thai Library Integrated System) เป็นฐานข้อมูลที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และ
โครงการ Thai Library Integrated System เช่าใช้ฐานข้อมูลวิชาการ
โดยมีสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับผิดชอบค่าใช้จ่าย เพื่อให้มหาวิทยาลัยของรัฐร่วมกันใช้บริการสืบค้นสารสนเทศ ภายใต้ฐานข้อมูลต่างๆ
ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศบอกรับเป็นสมาชิก คือฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดหรือศูนย์สารสนเทศนั้นๆ บอกรับหรือซื้อฐานข้อมูลนั้นมาให้บริการกับผู้ใช้โดยมีการจำกัดระยะเวลาในการใช้นั้นคือจะสามารถใช้ฐานข้อมูลได้ในระหว่างเป็นสมาชิกของฐานข้อมูลนั้นในระยะเวลาที่กำหนดตัวอย่างฐานข้อมูลออนไลน์ที่ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์บอกรับเป็นสมาชิกพร้อมขอบเขตเนื้อหา