ปัญหาสิ่งแวดล้อมแยกตามหัวข้อบทความ
การสูญเสียความหลากหลายในระบบนิเวศ
1. "ซูเปอร์มาร์เก็ต: เลิกขายสัตว์น้้าที่ยังไม่โตเต็มวัย เพราะอาหารทะเลก้าลังจะหมดแล้ว"
- แก้ปัญหา คือ รณรงค์ให้ผู้บริโภคตระหนักในการเลือกบริโภคอาหารทะเลโดยการกินปลาใหญ่ไม่กินปลาเล็กและใช้อุปกรณ์ในการทำประมงได้ถูกต้องตามประเภทของสัตว์น้ำ
- สาเหตุ คือ ผู้บริโภคขาดจิตสำนึกในการบิโภคสัตว์น้ำและในการทำประมงขาดการฟื้นฟูในการจับสัตว์น้ำวัยกำลังเจริญเติบโต
- ปัญหา คือ สัตว์น้ำในทะเลกำลังจะไม่เหลือให้ได้บริโภคอย่างยั่งยืน
9. ประชากรหมีขั้วโลกส่วนใหญ่อาจไม่รอดหลัง พ.ศ. 2643
- แก้ปัญหา คือ ลดการปล่อยแก๊ส
เรือนกระจกภายในทศวรรษข้างหน้าได้ในระดับหนึ่ง หมีขั้วโลกกลุ่มเล็กๆก็อาจยังมีชีวิตรอดอยู่บางพื้นที่ของอาร์กติก
- สาเหตุ คือ การปลดปล่อยแก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์ที่ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกเกิดการละลาย
- ปัญหา คือ จำนวนประชากรหมีขั้วโลกจะมีแนวโน้มว่าจะลดลงอย่างมากในบางภูมิภาคของแผ่นน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติก
มลพิษทางขยะ
2. ซุปเปอร์มาเก็ตบางแห่งในเยอรมันขายเฉพาะอาหารใกล้หมดอายุและอาหารตกเกรด
- ปัญหา คือ ขยะที่เน่าเสียมีก๊าซมีเทนก็ถูกปล่อยออกมาพบได้จากขยะอาหารทั่วโลก
- สาเหตุ คือ จำนวนขยะอาหาร
จากร้านค้าต่างๆของที่หมดอายุแต่มีการบริโภคไม่ทันวันหมดอายุ
- แก้ปัญหา คือ ใช้กระบวนการในการแปรรูปอาหารเพื่อยืดอายุการใช้งานให้ได้นานมากขึ้นและคงสภาพเดิม
8. การปนเปื้อนไมโครพลาสติกในอาหาร
- ปัญหา คือ พบการปนเปื้อนของขยะประเภทไมโครพลาสติกจากการกินอาหารของปลาทูในกระเพาะปลา
- สาเหตุ คือ ขยะที่เกิดจากครัวเรือนและอุตสาหกรรม ขยะ
ส่วนหนึ่งจะถูกปล่อยลงแหล่งน้ำต่างๆ จากคลองสู่แม่น้ำท้ายที่สุดแล้วก็จะมีขยะส่วนหนึ่งลงสู่ท้องทะเล
- แก้ปัญหา คือ ช่วยกันได้โดยการลดละเลิกการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง พลาสติกที่ย่อยสลายได้เหล่านี้ก็จำเป็นที่จะต้องได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมโดยการนำไปย่อยสลายในโรงย่อย
มลพิษทางน้ำ
3. ไฟไหม้เรือสินค้าชายฝั่งศรีลังกาทำให้ขยะพลาสติกเกลื่อนทะเล
- แก้ปัญหา คือ ลดการบรรทุกสินค้าที่มีน้ำหนักเกินและควรแยกประเภทรวมทั้งการจัดตั้งระบบความปลอดภัยภายในเรือเมือเกิดเหตุไม่คาดคิดจะทำให้มีความเสียหายน้อยที่สุด
- สาเหตุ คือ เรือบรรทุกสินค้า X-Press Pearl สัญชาติสิงคโปร์ เกิดไฟไหม้และระเบิดนอกชายฝั่งกรุงโคลัมโบของศรีลังกา
- ปัญหา คือ น้ำมันรั่วจากถังน้ำมันของเรือ แสดงความกังวลว่า
น้ำมันภายในเรือ 378 ตัน อาจรั่วไหลลงสู่ทะเลและมีเม็ดพลาสติกขนาดเล็กจำนวนมหาศาลลอยปกคลุมไปทั่วผืนน้ำ
6. น้้าทะเลบางแสนเปลี่ยนสี
- แก้ปัญหา คือ การชะล้างสารอาหารลงสู่น้ำทะเลชายฝั่งและมีอุณหภูมิ ความเค็ม และความเข้มแสงที่เหมาะสมจึงทำให้แพลงก์ตอนพืชเพิ่มจำนวนมากขึ้น
- สาเหตุ คือ แพลงก์ตอนพืชตายลงซากจะถูกแบคทีเรียใช้ออกซิเจนในน้ำในการย่อยสลายซาก เนื่องจากภายในเซลล์มีสารแอมโมเนียค่อนข้างมากเมื่อเซลล์แตกจากคลื่นหรือเซลล์ตายลงจะมีการปลดปล่อยแอมโมเนียออกสู่บรรยากาศและส่งกลิ่นเหม็น
- ปัญหา คือ พบสัตว์น้ำขนาดเล็กขาดออกซิเจนและตายลงรวมทั้งเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีและส่งกลิ่นเหม็น
5. พิษสารหนูที่ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช
- แก้ปัญหา คือ ต้องจัดทำกรอบนโยบายและแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการพัฒนาทรัพยากรแร่โดยถือเป็นเรื่องที่จำเป็นและเร่งด่วนอย่างมาก
- สาเหตุ คือ พบว่าการปนเปื้อนของสารหนูในแหล่งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินระดับตื้นยังสูงเกินค่ามาตรฐานน้ำสำหรับบริโภค
- ปัญหา คือ มีผู้ป่วยด้วยโรคพิษจากสารหนูจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
มลพิษทางดิน
7. เกษตรอินทรีย์และผลจากสารกำจัดศัตรูพืช
- แก้ปัญหา คือ เพิ่มกระบวนการผลิตจากธรรมชาติ หรือการผลิตแบบดั้งเดิม โดยไม่มีการฉายรังสีการใช้สารเคมีหรือใช้วัตถุเจือปนอาหารทางเคมี
- ปัญหา คือ พบผู้ป่วยจากการบริโภคสารพิษกำจัดแมลงที่ตกค้างในผัก
- สาเหตุ คือ มีการใช้เป็นหัวยาและผสมกับสารเคมีเกษตรชนิดอื่นๆ ในการเพาะปลูก เพื่อกำจัดแมลงหลายชนิด
มลพิษทางอากาศ
4. ภาคเหนืออ่วม! หมอกควันข้ามแดน คพ.ส่งหนังสือชาติอาเซียนลดเผาป่า
- แก้ปัญหา คือ ต้องลดจำนวนจุดความร้อนให้ได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเผาวัชพืช ซึ่งให้ปรับเปลี่ยนโดยการนำวัชพืชไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นแทนการเผา
- สาเหตุ คือ มาจากจุดความร้อนจำนวนมาก ทำให้ฝุ่นควันเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน
- ปัยหา คือ ปัญหาฝุ่นควันภาคเหนือต้องขอความร่วมมือประเทศเพื่อนบ้าน
10. CLIMATE CHANGE: ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำขาดออกซิเจนในทะเลสาบเกือบ 400 แห่ง ในสหรัฐ และยุโรป
- แก้ปัญหา คือ ลดการปล่อยน้ำหรือสารเคมีที่ไม่ได้รับการบำบัดจากชุมชน อุตสาหกรรม การเกษตร เนื่องจากเมื่อสารอินทรีย์ต่างๆ ถูกทิ้งลงไปในแหล่งน้ำ
- สาเหตุ คือ ผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาวะโลกร้อนทำให้น้ำทะเลอุ่นขึ้นจึงเก็บออกซิเจนได้น้อยลง ทำให้น้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้น
- ปัญหา คือ เกิดภาวะน้ำขาดออกซิเจนในทะเลสาบ