Categories: All - เครือข่าย

by KRITTAPAS PALIEM 6 years ago

444

รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่ายและระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN)

การเชื่อมโยงเครือข่ายสามารถทำได้หลายรูปแบบ ทั้งแบบจุดต่อจุดที่เชื่อมเฉพาะสองอุปกรณ์ และแบบหลายจุดที่เชื่อมหลายอุปกรณ์ด้วยสายสื่อสารเส้นเดียว แต่ละรูปแบบมีข้อดีข้อเสียต่างกัน เช่น แบบจุดต่อจุดใช้ความเร็วได้เต็มที่ แต่ต้องใช้สายสัญญาณมากขึ้นเมื่อมีหลายโหนด ส่วนแบบหลายจุดประหยัดสายสัญญาณแต่เสี่ยงต่อการเสียหายเมื่อสายขาด สำหรับเครือข่ายท้องถิ่น (

รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่ายและระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN)

รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่ายและระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN)

ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN : Local Area Network)

Wireless LAN
ไวเลสแลน (Wireless LAN) หรือ ระบบแลนไร้สาย เป็นระบบที่ใช้การรับส่งข้อมูลผ่านทาง คลื่นวิทยุโดยส่งผ่านทางอากาศ ไม่ต้องใช้สายสัญญาณใดๆ เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการความสะดวกในการเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ มีความคล่องตัวสูง คลื่นวิทยุมีคุณสมบัติในการทะลุทะลวงสิ่งกีดขวาง
เอฟดีดีไอ (Fiber Distributed Data Interface : FDDI)
หน่วยงาน ANSI ได้ก าหนดโปรโตคอลที่ใช้งานบนเครือข่ายท้องถิ่น โดยมีการควบคุมแบบโทเค็นริง ส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 100 เมกะบิตต่อวินาที บนสายเคเบิลใยแก้น าแสง แต่เอฟดีดีไอจะท างานด้วย ความเร็วสูงกว่า ประกอบกับเครือข่ายเอฟดีดีไอยังสามารถออกแบบเพื่อรองรับความเสียหายของระบบได้ ด้วยการเพิ่มวงแหวนในเครือข่ายอีก รวมเป็นสองวงแหวนด้วยกัน
ไอบีเอ็มโทเคนริง(Token Ring)
โปรโตคอล CSMA/CD ที่ใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นกลไกการส่งข้อมูลบนเครือข่ายที่มีโอกาสเกิดการชนกันของข้อมูลสูง เมื่อการจราจรบนเครือข่ายหนาแน่น ในขณะเดียวกับโปรโตคอลToken Passing ที่ใช้งานบนเครือข่ายโทเค็นริงนั้นจะไม่ก่อให้เกิดการชนกันของกลุ่มข้อมูลเลย
อีเทอร์เน็ต(Ethernet)
อีเทอร์เน็ตก็เป็นเครือข่ายที่ได้รับความนิยมสูงสุด รูปแบบการเชื่อมต่อของเครือข่ายอีเทอร์เน็ตตั้งอยู่บนเครือข่ายแบบบัสตามมาตรฐาน IEEE 802.3 ด้วยการใช้โปรโตคอล CSMA/CD เป็นตัวจัดการเพื่อการเข้าถึงสื่อกลาง โดยมาตรฐาน 802.3 แบบดังเดิมได้กำหนดรูปแบบการเชื่อมต่อไว้ 3 รูปแบบด้วยกัน คือ 10Base5, 10Base2 และ 10BaseT ที่ส่งข้อมูลบนความเร็ว10 เมกะบิตต่อวินาที(ฝ่ายตำราวิชาการคอมพิวเตอร์, 2558)

ลักษณะการเชื่อมโยงเครือข่าย

แบบหลายจุด(Multi-point)
ข้อดีและข้ออเสีย

ข้อเสีย: หากสายส่งสัญญาณข้อมูลขาดจะส่งผลกระทบต่อเครือข่าย

ข้อดี: ประหยัดสายส่งและสามารถเพิ่มโหนดได้ง่าย

เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้เส้นทางหรือลิงค์เพื่อการสื่อสารร่วมกัน กล่าวคือ อุปกรณ์ต่างๆ สามารถสื่อสารระหว่างกันได้ด้วยการใช้ลิงค์หรือสายสื่อสารเพียงเส้นเดียว
แบบจุดต่อจุด (Point to Point)
ข้อดีและข้อเสีย

ข้อเสี: หากโหนดมีจำนวนมากจำเป็นต้องใช้สายส่งสัญญาณมากขึ้น

ข้อดี: ใช้ความเร็วได้อย่างเต็มที่

เป็นการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ สองอุปกรณ์ที่เชื่อมโยงถึงกันเท่านั้น โดยช่องทางการสื่อสารจะถูกจับจองสำหรับอุปกรณ์สองอุปกรณ์เพื่อใช้สื่อสารระหว่างกัน หากโหนดคู่ใดไม่มีสายส่งถึงกันก็สามารถสื่อสารผ่านโหนดที่อยู่ติดกัน เพื่อส่งทอดต่อไปเรื่อยๆ จนถึงโหนดปลายทางที่ต้องการ

รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่าย(Topology)

แบบเมช(Mesh Topology)
เป็นรูปแบบที่ถือว่าป้องกันการผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด มีการทำงานโดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีช่องสัญญาณจำนวนมาก เพื่อที่จะเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ทุกเครื่อง โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะส่งข้อมูล ได้อิสระไม่ต้องรอการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ
แบบวงแหวน(Ring Topology)
เป็นรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม
แบบดาว(Star Topology)
เป็นรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่องๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาณที่มาจากเครื่องต่างๆ
แบบบัส(Bus Topology)
เป็นรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่านสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่าบัส (BUS) หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลักใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ มีตัวเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ในการลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง